วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08.30-12.30 น.


บรรยากาศในการเรียน
          การเรียนในวันนี้ เป็นการเรียนที่สบาย ๆ ไม่เคร่งเครียด มีการทำกิจกรรมจากโจทย์ที่อาจารย์ให้มา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา จากนั้นก็เป็นการนำเสนองานหัวข้อต่าง ๆ ของเพื่อน ๆ ส่วนคนที่แก้ไข ก็สามารถมานำเสนอใหม่ได้

กิจกรรมนี้ อาจารย์ให้นำไม้เสียบที่แบ่งส่วนมาแล้ว (1 ส่วน 2 ส่วน และ 3 ส่วน)
มาใช้ในการทำกิจกรรม เพื่อต่อเป็นรูปร่าง และรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ
โดยใช้ดินน้ำมัน ในการเชื่อม

" รูปสามเหลี่ยม "


" รูปทรงสามเหลี่ยม "

" รูปสี่เหลี่ยม "

" รูปทรงสี่เหลี่ยม : ทำเป็นคู่กับเพื่อน เพราะจำนวนไม้ไม่พอใช้ในการต่อ "


จากนั้นเพื่อนก็มานำเสนองานหน้าชั้นเรียน
  • นางสาวพรประเสริฐ กลับผดุง นำเสนอบทความ
          สรุปบทความคณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ
               บทความนี้ได้กล่าวถึงแนวการสอนของคุณครูท่านหนึ่งที่สอนอยู่ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย คุณครูท่านนี้เป็นผู้มีประสบการณ์สอนคณิตศาสตร์มายาวนานกว่า 35 ปี และยังได้รับรางวัล มามากมายกว่า 20 รางวัล ครูท่านนี้คือ คุณครูเสน่ห์ สังข์ภิรมย์ 
แนวการสอนของคุณครูท่านนี้ จะใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยจับกลุ่มเด็กเก่งกับเด็กเรียนอ่อนให้คละกัน ให้เด็กๆได้ช่วยเหลือกัน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้เด็กด้วย ในการสอนครูจะไม่ทำโทษเด็ก ไม่กากบาทในสิ่งที่เด็กทำผิดแต่จะอธิบายและให้เด็กได้แก้ไขตรงนั้นเลย ครูเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็ก โดยครูจะต้อง
               1. ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
               2. ครูต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียน
               3. ใช้สื่อที่หน้าสนใจ
               การเรียนด้วยความสนุกนั้นจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีและมีกำลังใจในการเรียนรู้
การที่จะทำให้เด็กปฐมวัยนั้นสนุกและเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้นั้น คุณครูหรือผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างองค์ประกอบการเรียนรู้รอบด้านให้เป็นเรื่องสนุก ก็จะทำให้การเรียนที่น่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกได้นั้นเอง
บทความจาก : นิตยาสาร Kids&School
  • นางสาวณัฐณิชา ศรีบุตรตา นำเสนอวิจัย

สรุปงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรี  ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์ค
ผู้จัดทำ  วรินธร  สิริเดชะ (2550)  เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้ควบคุม  ผู้ช่วยศาตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง , อาจารย์ ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้ระยะเวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คและแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์
คูมือการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิร
          การจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ผูวิจัยเปนผูดําเนินการจัดกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ใหกับเด็กสัปดาหละ 3 วัน คือในวันจันทร พฤหัสบดี ศุกร ระหวาง เวลา 9.109.50 น. เปนเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห รวม 24 กิจกรรม โดยมีจุดมุงหมายเพื่อสงเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร ดังนี้
1. การจัดหมวดหมู
2. การรูาจํานวน 1 - 10
3. การเปรียบเทียบในเรื่องตอไปนี้
- จํานวน  ไดแก มาก อย เทากัน - ไมเทากัน
- ปริมาณ ไดแก มาก อย หนัก เบา
- ขนาด   ไดแก เล็ก กลาง ใหญ  สูง ต่ำ สั้น ยาว
- รูปทรงเรขาคณิต ไดแก วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม
4. อนุกรม ลักษณะของกิจกรรมเปนกิจกรรมดนตรีที่เด็กไดลงปฏิบัติ โดยผสานกิจกรรมตางๆเข
วยกันอยางผสมกลมกลืน ไดแก  
- คําพูด ( Speech)  
- การรองเพลง (Singing)  
- ลีลาและการเคลื่อนไหว (Movement)  
- การใชางกายทําจังหวะ (The Use of Body in Percussion)  
- การคิดแตงทํานองหรือทาทางแบบทันทีทันใด (Improvisation)
ซึ่งการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สามารถบูรณาการสาระการเรียนรูในดาน ตางๆผสมผสานเขาไปในกิจกรรมทั้ง 5  ดังกลาว การวิจัยครั้งนี้ตองการศึกษาความสัมพันธของการจัด ประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สัมพันธกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร ในการวาง แผนการจัดกิจกรรมแตละครั้งจึงตองมีการบูรณาการเนื้อหาสาระทางดานคณิตศาสตรกับกิจกรรมดนตรี
เพื่อสงเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตรอยางสัมพันธกัน  เพื่อใหการจัดกิจกรรมดังกลาว บรรลุตามวัตถุประสงค ผูดําเนินการควรมีพื้นฐานความเขาใจ ในเรื่องพัฒนาการเด็ก จิตวิทยาพัฒนาการ ดนตรี ควรเปนผูที่มีความละเอียด รอบคอบ ชางสังเกต ใจ กวางที่จะใหโอกาสเด็กไดแสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถ ตลอดจนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของเด็กเชื่อวาดนตรีพัฒนาเด็กๆไดและที่สําคัญ คือ การคํานึงถึงความแตกตางระหวางบุคคล
นอกจากนั้นทุกครั้งกอนที่จะจัดประสบการณกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ในแตละ ครั้ง ผูดําเนินการควรมีการตระเตรียมความพรอมทั้งในดานของสถานที่ บรรยากาศ ตลอดจนสื่อ อุปกรณที่หลากหลาย เครื่องดนตรีชนิดตางๆที่สอดคลองกับเนื้อหาของกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อใหการดําเนิน กิจกรรมเปนไปอยางราบรื่น และบรรลุตามจุดประสงคที่ตั้งไว
          ออรฟเนนใหเด็กไดสัมผัสและมีปฏิสัมพันธกับสื่อมากที่สุด โดยเริ่มจากสื่อที่ใกลตัวขยายสูสื่อที่ ไกลออกไป ดังนั้น สื่อของออรฟจึงเริ่มจากรางกายของเด็กเอง ไปจนถึงสื่อสําเร็จรูปตางๆ เชน เครื่อง ดนตรี เพลง
          เพลงที่ออรฟใชในการจัดประสบการณดนตรีแนวออรฟชูคเวิรคนี้มีที่มาหลากหลาย ทั้งจาก เพลงที่ออรฟแตงเอง เพลงที่เด็กแตงขึ้น และเพลงจากนักแตงเพลงทานอื่น ที่สอดคลองกับหลักการของ ออรฟ เนื่องจากเพลงที่ออรฟแตงเองมีไมมากนักและวัตถุประสงคหลักของการเขียนเพลงของออรฟ คือ แตงเพียงเพื่อเปนแบบ (models) เพื่อการ improvisation วนประกอบที่ออรฟใชแตงเพลงสําหรับเด็ก คือ 1) pentatonic mode (โนต 5ตัว ซึ่งมีความสัมพันธของเสียง โด เร มี ซอ ลา)  2) ostinato patterns และ borduns (แบบแผนของตัวโนตซ้ําๆที่เดินอยูตลอดทั้งเพลง) ซึ่งออรฟตั้งใจใหเด็กคิดขึ้นมาเอง เชน เพลง Day Is New Over ซึ่งเปนเพลงที่มีแบบแผนของเพลงชัดเจน บรรเลงงาย มีทํานองและเนื้อรอง แบงออกเปนทอนๆอยางแนนอน มีทอนลอและทอนรับ ซึ่งงายตอการเลียนแบบเพื่อนําไปคิดแตงทํานอง ตอดวยตนเอง
          ดังนั้น ในการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรคนั้น สื่อจึงมีความหลากหลายและมี ความหมายเฉพาะตัว ทั้งสื่อที่ใกลตัว สิ่งที่ประดิษฐเอง และสื่อสําเร็จรูป ผูดําเนินการวิจัยจึงจําเปนตอง ศึกษาและเรียนรู วิธีการใช เปาหมายของสื่อแตละชนิด เพื่อนํามาใชใหสอดคลองกับกิจกรรมเพื่อพัฒนา ผูเรียนใหบรรลุตามเปาหมายที่วางไว้
          ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านอนุกรม
  • นางสาวศิริพร ขมิ้นแก้ว นำเสนอวิจัย (แก้ไข)


วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
ของ ศุภนันท์ พลายแดง
ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2553
        การวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ
ประกอบอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร

กลุ่มตัวอย่าง
         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี
ที่กา ลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ของโรงเรียนมิตรภาพ
ที่ 34 อา เภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จา นวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกจากเด็กที่มี
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่า จากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร จำนวน 18 แผน
2. แบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ

ระยะเวลาในการทดลอง
        การทดลองครั้งนี้กระทำ ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ใช้เวลาในการทดลอง
6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา
1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรต้น
     - กิจกรรมการประกอบอาหาร
ตัวแปรตาม
     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
1. การเปรียบเทียบ
2. การจับคู่
3. การนับจำนวน

สรุปผลการวิจัย
        เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารก่อนและหลังการทดลอง
มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่
ระดับ .01

แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์ เรื่อง น้าส้มคั้น
สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 1 สอนวัน พุธ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 30 นาที
สาระสำคัญ
          การเรียนคณิตศาสตร์ เด็กควรจะได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับกับเปรียบเทียบ เรียงลำดับ
การวัด การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การนับก่อนที่จะเรียนเรื่องตัวเลข และวิธีคิดคำนวณ ซึ่งการจัด
กิจกรรมการประกอบอาหารในครั้งนี้นำเอาผลไม้ที่เด็กๆรู้จัก คือส้ม มาใช้ในการจัดกิจกรรมซึ่ง
นอกจากเด็กๆ จะๆได้รับคุณค่าจากสารอาหารแล้ว ยังสามารถเกิดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ใน
เรื่องของการเปรียบเทียบ อันเปรียบเสมือนบันไดขั้นต้น ซึ่งช่วยเตรียมตัวให้พร้อมที่จะก้าวไปสู่
ประสบการณ์พื้นฐานต่อไป
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เด็กสามารถเปรียบเทียบปริมาณของน้า ส้มที่แตกต่างกันได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้
- การปฏิบัติตนในการประกอบอาหาร
2. กิจกรรมสำคัญ
- การประกอบอาหาร และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
เนื้อหา
1. ประโยชน์ของส้ม
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การเปรียบเทียบ
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูให้เด็กทุกคนปิดตา และให้ชิมสิ่งที่ครูเตรียมไว้ในจานบนโต๊ะที่ละคน หลังจาก
ชิมครบทุกคนแล้ว ครูถามว่าคืออะไร เด็กช่วยกันตอบ ครูหยิบบัตรภาพและบัตรคำเฉลยส้ม
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของส้ม โดยใช้คำถามดังนี้
    2.1 เด็ก ๆ คิดว่าส้มมีประโยชน์ อย่างไรบ้าง
    2.2 ครูหยิบผลส้มออกมาใส่ตะกร้าให้เด็ก ๆ ช่วยนับจำนวนผลส้ม ทั้งหมดและถามว่ามีกี่ผล และส้มนอกจากจะรับประทานได้แล้วยังสามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง
3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงการนำส้มมาทำน้ำส้มคั้น ครูนำวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆให้เด็กได้รู้จักและสัมผัสกันทั่ว
4. ครูและเด็กร่วมกันทบทวนข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหาร
การทำน้ำส้มคั้น เช่นมีข้อตกลงดังนี้
    4.1 เด็ก ๆ ต้องรู้จักอดทนรอคอย และมีระเบียบวินัย
    4.2 ไม่พูดคุยเสียงดัง ในระหว่างทำกิจกรรม
    4.3 ไม่ทำวัสดุ อุปกรณ์ เสียหาย และหลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันเก็บ
    4.4 ต้องเคารพกฎกติกาในการประกอบอาหารโดยทำอย่างระมัดระวัง และช่วยเหลือกันและกัน
ขั้นดำเนินการ
1. เด็ก ๆ เข้าแถวรอรับอุปกรณ์ วัสดุ ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำน้ำส้มคั้น
2. ครูแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จะเตรียมส้มและคั้น กลุ่มที่ 2 จะรับไปปรุงแต่งรสและแจกจ่ายเพื่อนๆ เพื่อชิม โดยครูคอยให้คำแนะนา ชี้แนะ
3. เมื่อได้น้ำส้มมาแล้ว ครูเตรียมแก้วใสที่มีรูปทรงเดียวกันมาทั้งหมด 6 ใบ แล้วรินน้ำส้มใส่ในแก้ว ซึ่งจะใส่ในปริมาณที่เท่ากันเป็นคู่ ๆ จากนั้นวางสลับกัน ติดหมายเลข 1-6 ที่แก้ว
ครูให้ตัวแทนกลุ่มทั้งสองกลุ่มออกมา จับคู่แก้วที่มีปริมาณน้า ส้มเท่ากัน ทีละกลุ่ม ให้เด็กที่เหลือ
ช่วยกันเป็นกรรมการและปรบมือชื่นชมกลุ่มที่ทำได้ถูกต้อง
4. หลังจากทำกิจกรรมเสร็จเด็ก ๆ ร่วมกันเก็บอุปกรณ์ และร่วมกันทำความสะอาด
บริเวณที่ทำกิจกรรม
ขั้นสรุป
1. ครู และเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของน้ำส้มคั้น
2. ครูกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเด็กแต่ละคนที่มีระเบียบวินัยในตนเอง
สื่อการเรียนรู้
1. ภาพส้ม
2. บัตรคำ ส้ม ป้ายตัวเลข 1-6
3. ผลส้ม
4. แก้วใส 6 ใบ และ อุปกรณ์ ส่วนผสมในการทา น้ำส้มคั้น
การวัดและการประเมินผล
1. วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
1.1 สังเกตการสนทนา และการตอบคำถาม
1.2 แบบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ ระหว่างปฏิบัติกิจกรรมการประกอบอาหาร
2. เกณฑ์การวัดผล
1 หมายถึง เด็กสามารถตอบคา ถามได้
0 หมายถึง เด็กไม่สามารถตอบคา ถามได้


ความรู้ที่ได้รับ
  • รูปร่าง หรือรูปทรงเรขาคณิต ที่ทำกิจกรรมในวันนี้ สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ แล้วแต่แนวคิดของแต่ละคน ว่าจะออกแบบมาอย่างไร ซึ่งสรุปขั้นตอนได้ดังภาพต่อไปนี้

  • จากการรับฟังการนำเสนอของเพื่อน ๆ ทำให้ได้ความรู้ และแนวคิดใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับการนำคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย โดยจัดการเรียนรู้ให้น่าสนใจ และมีความเหมาะสมกับเด็ก
  • การจะสังเกตว่า รูปร่างหรือรูปทรงใด มีกี่มุม วิธีง่าย ๆ อาจจะใช้การติดกระดาษ เพื่อให้เด็กไม่สับสน และเข้าใจง่ายมากขึ้น 
  • จากใบความรู้ ที่อาจารย์ให้นำมาอ่าน ทำความเข้าใจ สามารถสรุปได้ ดังภาพต่อไปนี้








ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการใช้ภาษาในการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการคิดเป็นลำดับขั้นตอน
  • ทักษะการออกแบบรูปเรขาคณิตต่าง ๆ การสร้างสรรค์ผลงาน
  • ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Power Point, PhotoScape) ในการสรุปใบความรู้
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • คำถามของครูควรเป็นคำถามกว้าง ๆ โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด และลงมือทำด้วยตนเอง
  • ครูต้องยึดมั่นอยู่เสมอว่า เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ในการทำงานต่าง ๆ หรือการจัดกิจกรรม ต้องให้อิสระกับเด็กในการเรียนรู้ 
  • คณิตศาสตร์ กับ ศิลปะ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กันได้ ซึ่งศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ไม่จำเป็นต้องสวยงาม เพียงแค่เด็กได้ลงมือปฏิบัติตามความรู้ จินตนาการของเด็ก ก็สามารถนำให้เด็กเรียนรู้เชื่อมโยงกันได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์จะให้โจทย์มา แล้วให้นักศึกษาคิด และลงมือทำตามความเข้าใจ หรือจินตนาการของตนเอง โดยไม่ปิดกั้น เพราะแต่ละคนมีความคิด มีการออกแบบที่ไม่เหมือนกัน
  • อาจารย์จะมีคำถาม ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอยู่เสมอ หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ และมีการอธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง 
  • อาจารย์จะปลูกฝัง ความเป็นครู ให้กับนักศึกษาเสมอ เพราะถือว่านักศึกษาเป็นกำลังสำคัญที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขได้ ส่งผลให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าในอนาคต
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย พยายามจดบันทึกข้อคิดที่อาจารย์ให้แต่ละกิจกรรม เพราะเป็นคนลืมง่าย
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความคิดที่หลากหลาย ซึ่งได้แลกเปลี่ยนกัน และยินดีช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาเมื่อเพื่อนไม่เข้าใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก ทำให้การเรียนเป็นไปตามลำดับเหมือนทุกครั้งที่อาจารย์สอน และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถาม พูดคุยอย่างอิสระ ให้โอกาสในการนำเสนองานใหม่ เมื่อเนื้อหายังไม่ถูกต้อง พร้อมให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่นักศึกษาอยู่เสมอ


วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08.30-12.30 น.
บรรยากาศในการเรียน
          เมื่อเริ่มการเรียนการสอน อาจารย์ก็แจกกระดาษ A4 ให้หยิบคนละ 1 แผ่น จากนั้นก็ให้ตีตารางดังภาพต่อไปนี้

กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร

          จากนั้น อาจารย์ก็ให้แรเงาช่องที่แบ่งเป็น 2 แถว โดยให้โจทย์ว่า ให้แรเงา 2 ช่องติดกัน รูปแบบใดก็ได้ ให้ได้มากที่สุด


          โจทย์ต่อมาคือ ให้แรเงาช่องที่มี 3 แถว โดยแรเงาช่อง 3 ช่องให้ติดกัน รูปแบบใดก็ได้ ให้ได้จำนวนมากที่สุด


          กิจกรรมต่อมา อาจารย์เปิดวีดีโอโทรทัศน์ครูให้ดู เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ

Project Approach https://www.youtube.com/watch?v=ffbZFWVFrEs (คลิกลิงก์ เพื่อชมวีดีโอ) เมื่อดูเสร็จแล้ว สรุปได้อย่างไร การจัดการเรียนรู้แบบนี้ มีความเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร ก็มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในห้องเรียน

          จากนั้น เพื่อน ๆ ก็มานำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • นางสาวมาลินี  ทวีพงศ์ นำเสนอบทความ


สรุป บทความ 

เรื่อง เลขคณิตคิดสนุก แนะนำพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน
จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยอาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
          อ.สุรัชน์ กล่าวว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง แต่ถ้ายังขาดการให้เหตุผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กฝึกคิดหาเหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
ให้พ่อแแม่และเด็กทำเยลลีด้วยกัน เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องทักษะการชั่ง การตวง การวัด  หรือชักชวนลูกไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ การประดิษฐ์กล่องของขวัญ การทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ   นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า  การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ

สรุป 
  "การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น" 

  • นางสาววรัญญา  ศรีดาวฤกษ์ นำเสนอวีดีโอ (แก้ไข จากสัปดาห์ที่แล้ว)
สรุปวีดิโอ เรื่อง ลูกเต๋ากับการเรียนรู้ ของครู นิตยา ถาชัย ครูประจำชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านยางขาม นำความคิดนี้มาจากโทรทัศน์ครูและนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน โดยหลักการของครูคือ การใช้ลูกเต๋าเพื่อเป็นสื่อใสการเรียนรู้ของเด็กและนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ซึ่งในของจะสาธิตการสอนได้ 2 อย่างคือ 1 เรื่องจำนวนคู่-จำนวนคี่ โดยครูให้เด็กแต่ล่ะคนโยนลูกเต๋าและให้เด็กนับจำนวนบนลูกเต๋าว่ามีจำนวนเท่าใดและนำไปเขียนบนกระดานโดยบนกระดานจะมีตารางซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งของจำนวนคู่และจำนวนคี่เมื่อเด็กโยนเสร็จแล้วครูก็จะถามเด็กว่านี่คือเลขอะไรและเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ เรื่องที่ 2 คือเรื่องการบวกเลขอย่างง่ายโดยการใช้ลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกันและให้เด็กนับจำนวนว่าแต่ล่ะลูกมีจำนวนเท่าใด และนำมาบวกกันจากนั้นครูและเด็กก็ร่วมกันแต่งโจทย์ปัญหาอย่างง่ายขึ้นมา เช่น แม่มีแมวอยู่ 3 ตัว พ่อซื้อมาอีก 4 ตัว ตอนนี้แม่มีแมวทั้งหมดกี่ตัว ซึ่งวีดิโอนี้จะสรุปได้ว่า เด็กจะได้รับความรู้จากสื่ออุปกรณ์ที่ครูเตรียมมาให้ได้อย่างเห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้นและกิจกรรมในครั้งนี้บังให้ทั้งความรู้ความสนุกสนาน รวมไปถึงสร้างความแข็งแรงในด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอีกด้วย ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์มาก

      ท้ายคาบเรียน อาจารย์จึงมอบหมายงานให้เตรียมนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษารูปแบบต่าง ๆ (งานกลุ่ม) และแจกไม้เสียบ ให้คนละ 12 แท่ง เพื่อนำมาทำกิจกรรมในชั่วโมงหน้า


ความรู้ที่ได้รับ

  • ก่อนจะจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ใด ๆ ให้แก่เด็ก ครูจะต้องประเมินพัฒนาการว่าเด็กมีความสามารถ มีศักยภาพมากน้อยเพียงใด และศึกษาทำความเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน เพื่อจะได้สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านไปพร้อม ๆ กัน และทำให้กิจกรรมนั้น บรรลุวัตถุประสงค์ได้
  • จากกิจกรรมการแรเงาช่องสี่เหลี่ยมนั้น ทำให้ได้ความรู้ว่า โจทย์ 1 โจทย์ เราสามารถคิดได้หลากหลายรูปแบบ แตกแขนงได้มากมาย และสังเกตได้ว่าเพื่อนแต่ละคนนั้น มีจำนวนแรเงาที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเหมือนกับการจะจัดการเรียนการสอนให้เด็ก เด็กย่อมมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูต้องเรียนรู้ และจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก
  • จากการนำเสนอของเพื่อน ๆ ทำให้ได้ความรู้ที่แปลกใหม่ เพราะคณิตศาสตร์สามารถประยุกต์ได้หลายอย่าง และอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา
  • จากวีดีโอ โทรทัศน์ครู การสอนแบบ Project approach นั้น ทำให้ได้ความรู้จากผู้มีประสบการณ์ และได้เห็นวิธีการจัดการเรียนการสอนว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
  • เกมการศึกษา ได้แก่ สังเกตรายละเอียด (Lotto), จัดหมวดหมู่, จับคู่, โดมิโน, เรียงลำดับ, จิ๊กซอว์, พื้นฐานการบวก-ลบ, เกมความสัมพันธ์ 2 แกน
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการคิดจากโจทย์ปัญหา
  • ทักษะการคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดแตกแขนง
  • ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ให้เด็กที่ถูกต้องและหลากหลาย ซึ่งได้แนวคิดจากอาจารย์ จากเพื่อน และวีดีโอต่าง ๆ ก็ทำให้สามารถจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัยได้
  • จากกิจกรรมวันนี้ ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ คิดอย่างหลากหลายรูปแบบ ซึ่งฝึกให้เรารู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์จะสอนให้นักศึกษาได้คิดอิสระ และลงมือทำเองตามความเข้าใจ โดยกำหนดโจทย์มาให้ จากนั้นอาจารย์ก็จะสรุปสุดท้าย ว่ากิจกรรมนี้มีความเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร นักศึกษามีความเข้าใจถูกต้องหรือไม่ อาจารย์ก็จะแนะนำหลังจากทำกิจกรรมเสร็จ
  • อาจารย์จะเน้นให้ทุกคนมีความเป็นครูให้เกิดขึ้นในตัวนักศึกษา เช่น การเข้าใจความแตกต่างของเด็ก การให้โอกาสเด็กได้ฝึกฝนตนเอง จนประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องมีความเมตตา นอกจากจะสอนวิชาการแล้ว ต้องปลูกฝังสิ่งที่ดีงาม และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กด้วย
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย อาจจะมีเล่นบ้างบางครั้ง แต่เวลาทำงานก็ตั้งใจทำ สิ่งที่อาจารย์สอน ก็จะนำมาคิดและทำความเข้าใจ จดบันทึกเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้ตนเอง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความตั้งใจ และเตรียมความพร้อมในการมานำเสนองาน บางคนเนื้อหาอาจจะยังไม่ถูกต้องเท่าที่ควร แต่ก็ยินดีที่จะนำไปแก้ไข และมานำเสนอในสัปดาห์ถัดไป
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แนะนำแนวทางที่ดีกับนักศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้โอกาสเมื่องานที่นำเสนอยังไม่ถูกต้อง โดยให้นำกลับไปแก้ไข และมานำเสนอใหม่ โดยไม่ตัดสิทธิ์ของนักศึกษา



วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08.30-12.30 น.

บรรยากาศในการเรียน
          อาจารย์ตีตารางบนกระดานไว้ให้ดังนี้

เป็นตารางการตื่นนอนของเด็ก ๆ เพื่อบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษแข็งแผ่นเล็กให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้นักศึกษา เขียนชื่อตนเองลงไป มีลักษณะดังนี้

          ต่อมา อาจารย์ก็ให้ทุกคนนำกระดาษที่เขียนชื่อของตนเอง ไปติดบนกระดานตามช่องที่เป็นเวลาตื่นนอนของตัวเอง หลังจากนั้นอาจารย์จึงสรุปว่า จากกิจกรรมที่เราได้ทำเป็นการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างไร โดยจะต้องคำนึงถึงสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ที่เด็กต้องได้รับเสมอ อันได้แก่
          สาระที่ 1 จำนวนและดำเนินการ
          สาระที่ 2 การวัด
          สาระที่ 3 เรขาคณิต
          สาระที่ 4 พีชคณิต (พี-ชะ) 
          สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
          สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
          จากนั้น เพื่อน ๆ ก็ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน สรุปเนื้อหาได้ ดังนี้
  • นางสาวประภาภรณ์  สายเนตร นำเสนอบทความ

เรื่อง    คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
              สาขาวิชาการจัดการการปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

           การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ
กับวัตถุประสงค์ต่างๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว 
เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัส
ให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
          
          การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ใน
ชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้
เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
     1. การจำแนกประเภท
     2. การจัดหมวดหมู่
     3. การเรียงลำดับ
     4. การเปรียบเทียบ
     5. รูปร่างรูปทรง
     6. พื้นที่
     7. การชั่งตวงวัด
     8. การนับ
     9. การรู้จักตัวเลข
   10. รู้จักความสำพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
   11. เวลา
   12. การเพิ่มและลดจำนวน

          จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้รับการเรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริง
จะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวน เนื่องมาจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณ
ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เชิงจำนวน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจํานวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่
ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

        การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในชั้นเรียนระดับปฐมวัย
คือ การเปรียบเทียบและการประมวลข้อมูล หลายกิจกรรมในชั้นเรียนปฐมวัยเกี่ยวข้องกับ
การวิเคราะห์ข้อมูล เด็กปฐมวัยสามารถสร้างกราฟโดยใช้ของจริง เช่น 
       การสร้างกราฟ การประมวลข้อมูลเกี่ยวกับเด็กๆ เลือกเวลารับประทานอาหารว่าง
         - กราฟการเดินทางมาโรงเรียนของเด็ก ประกอบด้วยข้อมูลการเดินด้วยเท้า จักรยาน รถบัส 
            และรถส่วนตัว
         - กราฟหัวข้อจํานวนของเด็กที่เกิดในวันต่างๆ

          การจัดระบบและการวิเคราะห์ข้อมูล เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางการคิด ระดับสูง 
คือ การวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการนําข้อมูลมาเปรียบเทียบและจำแนกหรือแบ่งเป็นกลุ่มที่มี 
ความคล้ายกันหรือเหมือนกันต่อมาเด็กสามารถเปลี่ยนแปลง ข้อมูลไปสู่รูปแบบที่แตกต่างกัน 
เช่น ตาราง กราฟ แผนภูมิหรือวิธีการอื่น ๆ เด็กปฐมวัยมีความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
ด้วยตนเองโดยใช้ตาราง หรือกราฟ ดังนี้

การใช้ตาราง 
เด็กปฐมวัยสามารถสร้างตารางจากการนับ โดยเด็กๆเป็นผู้ปฏิบัติเอง 
เช่นเด็กได้บันทึก แมลงประเภทต่าง ๆ จากการสังเกตบนพื้นดิน เด็กๆ สามารถจัดระบบข้อมูลให้
เป็นตารางบน กระดาษ ตารางแบ่งเป็นหมวดต่างๆ เช่น ชื่อแมลงแต่ละประเภท ภาพวาดของแมลง 
และจํานวนของแมลง

    การใช้กราฟ 
    เด็กปฐมวัยคนที่ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องของจํานวน ควรส่งเสริมให้                           
    สร้างกราฟของจริง  เช่น ถ้าเด็กปฐมวัยกําลังนับจำนวนของเมล็ดผักและผลไม้                        
    เด็กๆ สามารถขีดเส้นจำนวนของเมล็ดฟักทอง แตงโม และแคนตาลูป  
                  
                 นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการนําข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากแบบ 
      บันทึกการสังเกต จากแบบสอบถาม และจากภาพถ่าย มาเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่และหา 
      ความสัมพันธ์โดยสร้างเป็นแผนภูมิลําดับเหตุการณ์ เป็นแผนที่เป็นต้น

                  
      สรุป 
                 คณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย  เป็นการจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจําวันของเด็กเป็น 
      ฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยครูจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนา 
      ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เรียนรู้ 
      ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนรู้ที่สบายๆ กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจําวันและ 
      เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด 
      ได้ดีขึ้น
      • นางสาวสุวนันท์  สายสุด นำเสนอวิจัย
      สรุปวิจัย
      เรื่อง การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

                คณิตศาสตร์มีความสำคัญต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ที่ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล จึงมีการส่งเสริมคณิตศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ปฐมวัย การวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลาเป็นรูปแบบที่มีขั้นตอนการปฏิบัติ 8 ขั้นตอน มีหลักการสำคัญคือหลังจากระบุปัญหาที่ต้องการแล้วก็จะประเมินความต้องการจำเป็นของกลุ่มเป้าหมายเพื่อวางแผนในการแก้ไขปัญหา

                ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในวงรอบที่ 1 ทำาให้นักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการในเรื่องการนับ การรู้ค่าตัวเลขและการจับคู่ อยู่ในระดับดีถึงดีมากผลเป็นที่น่าพอใจ จากนั้นผู้วิจัยได้ทำาการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ในวงรอบที่ 2 โดยพัฒนาเรื่องการเปรียบเทียบและการเรียงลำาดับซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการอยู่ในระดับดีถึงดีมาก
      • นางสาววรัญญา  ศรีดาวฤกษ์ นำเสนอวีดิโอ
      สรุปวีดีโอสื่อการสอน
      เรื่อง เทคนิคการลบเลขโดยไม่ต้องขอยืม

                 เทคนิคการแก้ปัญหาการลบเลขแบบไม่ต้องยืม โดย ผศ.ชัยศักดิ์ ชั่งใจ ผู้เชี่ยวชาญการสอนคณิตศาสตร์โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เห็นว่าวิธีการลบเลขแบบที่เราเคยเรียนมา นักเรียนส่วนใหญ่จะมีปัญหา เมื่อเวลาที่ต้องลบเลขแบบตัวตั้งบางตัว เป็นตัวเลขที่น้อยกว่าตัวที่นำมาลบ เพราะนักเรียนต้องใช้วิธีการยืม เมื่อต้องยืมตัวเลขไปมาก็อาจจะทำให้ลืมที่จะต้องยืมได้ ค่าหรือคำตอบที่ได้ก็จะผิดพลาด เมื่อเด็กคิดผิดเด็กก็จะไม่อยากเรียน ไม่ตั้งใจเรียนและไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ไปในที่สุด แต่หากเป็นตัวตั้งที่มากกว่าก็ไม่มีปัญหาอะไร ดังนั้น อ.ชัยศักดิ์จึงได้คิดค้นวิธีการลบเลขแบบใหม่ขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “เทคนิคการลบเลขโดยไม่ต้องขอยืม” ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย และไม่ยุ่งยากในการลบเลข โดยได้ถ่ายทอดเทคนิคนี้ให้กับครูอีก ท่านไปใช้อีกด้วยเป็นการสอนคณิตศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียน สามารถคิดเลขได้ดี การลบเลขของนักเรียนนั้นส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจเป็นอย่างมาก ทำให้นักเรียนที่ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ มีความชอบและความเข้าใจคณิตศาสตร์มากขึ้น ทำให้อยากเรียน และมีกำลังใจในการเรียนรู้วิชาคณิศาสตร์มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นทางเลือกให้คุณครูทั้งหลายได้มีวิธีการสอนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเรียนคณิตศาสตร์ถ้าเข้าใจ สนุก นักเรียนก็จะมีความสุขและรักการเรียนมากขึ้น 
      ตัวอย่าง 

                ซึ่งวิธีการนี้อาจจะทำให้เด็กยืมและลืม สับสนว่าเลขใดเป็นเลขใด หากคิดเลขผิดไปหนึ่งตัวก็จะทำให้คำตอบผิดไปได้ ผศ.ชัยศักดิ์ ชั่งใจ จึงคิดวิธีการลบเลขโดยไม่ต้องยืม โดยมีวิธีการดังนี้ วิธีการก็คือ เปลี่ยนตัวเลขตัวตั้งที่น้อยกว่าตัวลบให้เป็นเลขฐานสิบที่มากที่สุดคือเลข 9 และตัวตั้งที่มากกว่าอยู่แล้วให้ลบออกไป 1 ตัวอย่างเช่น


        ซึ่ง 4,204 ยังไม่ใช่คำตอบของโจทย์นี้เพราะตั้งตั้งได้เปลี่ยนไป วิธีการต่อมาคือ การนำคำตอบ แล้วตัวเลขที่ถูกเปลี่ยนจากโจทย์คือ 204 มาบวกกับ 1 อีก ซึ่ง 1 คือตัวเลขที่ถูกลบจากตัวตั้งที่มากกว่า

                เพียงเท่านี้เราก็จะได้คำตอบของโจทย์นี้ โดยไม่ต้องใช้การขอยืม ทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียนคณิตศาสตร์และเข้าใจได้ง่ายขึ้น วิธีการนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีสมองช้าและสมองปานกลาง

                กิจกรรมต่อมาคือ การร้องเพลง อาจารย์ก็สอนร้องเพลงต่าง ๆ ที่สามารถบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้ อาจจะมีการดัดแปลงเนื้อเพลง แต่ยังใช้ทำนองเดิม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ หลากหลายมากขึ้น ต่อมาก็เป็นคำคล้องจอง ที่สามารถนำไปสอนเด็ก ๆ ได้ และเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับหลักสูตรที่ดี
                ส่วนมากแล้ว บรรยากาศในการเรียนก็จะเป็นการพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา

      ความรู้ที่ได้รับ
      • จากตารางการตื่นนอน ทำให้รู้จำนวนเด็ก และยังเป็นการฝึกการนับ บอกจำนวน และใส่ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับ ให้เด็กได้เห็นบ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดเป็นความรู้และมีทักษะทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นได้
      • จากตาราง ทำให้เด็กได้เรียนรู้การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิ และช่วงเวลา ก่อน-หลัง มีการเปรียบเทียบ มากกว่าหรือน้อยกว่า 
      • การออกแบบสื่อแต่ละชิ้น ต้องคุ้มค่า และประยุกต์ได้หลากหลาย มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
      • เด็กจะมีพัฒนาการเริ่มจากการใช้ภาพ เขียนตามรอยปะ และเขียนได้เอง (คณิตศาสตร์)
      • คำว่า "พัฒนาการ" คือความสามารถหรือสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ ตามช่วงวัยหรือช่วงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นลำดับขั้นตอน
      • การลงมือทำ หรือลงมือปฏิบัติด้วยตนเองซ้ำ ๆ สม่ำเสมอ = เป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
      • การเรียนรู้ที่แตกต่าง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Learnning Style
      • ลักษณะหลักสูตรที่ดี จะมีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
      1. เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
      2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ
      3. แนะนำคำศัพท์ใหม่ ๆ และสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
      4. สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
      5. ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้ สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
      6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด มีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน
      7. เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า สำรวจ ปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง
      • แนวคิด สังกัด ความคิดรวบยอด Koncept เป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน แต่สามารถใช้ได้หลายคำ
      • การปฏิบัติ จะทำให้เกิดทักษะ และเกิดเป็นความคิดรวบยอด
      • มีความรู้เกี่ยวกับเพลง และคำคล้องจองที่สามารถบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้มากขึ้น เช่น









      ทักษะที่ได้รับ
      • ทักษะการร้องเพลง การอ่านคำคล้องจอง
      • ทักษะการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
      • ทักษะการคิดวิเคราะห์จากประเด็นปัญหา
      • ทักษะการคิดเลขเร็ว

      การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      • เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับเพลงต่าง ๆ คำคล้องจองต่าง ๆ ก็สามารถนำไปสอนเด็ก ๆ ได้
      • สามารถนำความรู้ไปจัดประสบการณ์ให้เด็ก ๆ อย่างหลากหลายรูปแบบ เพราะเด็กแต่ละคนก็มีการเรียนรู้ที่ช้า-เร็วแตกต่างกัน 
      • จากสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ทุกครั้งที่จะจัดกิจกรรม สามารถนำไปเป็นหลักการในการจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้ เพื่อให้เด็กมีความรู้และทักษะที่ครบถ้วน

      เทคนิคการสอนของอาจารย์
      • อาจารย์จะให้ประเด็นปัญหา หรือกำหนดโจทย์ให้นักศึกษาทำ แล้วหลังจากนั้น ก็จะพูดคุยแลกเปลี่ยนหลักการและเหตุผลกัน ถ้ายังไม่ถูกต้องอาจารย์ก็จะช่วยแนะนำให้ดียิ่งขึ้น
      • อาจารย์จะสอดแทรกคุณธรรมในระหว่างการสอน เช่น ความรับผิดชอบในการเข้าเรียน หรือการทำงาน เป็นต้น
      การประเมินผล
      ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย จะเข้าใจเนื้อหามากขึ้น เวลาที่อาจารย์ยกตัวอย่าง หรือเล่าประสบการณ์ให้ฟัง
      ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน มีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอที่แตกต่าง หลายรูปแบบ แต่อาจจะพูดคุยเสียงดังบ้าง เมื่ออาจารย์เตือน ก็กลับมาตั้งใจเรียนเหมือนเดิม
      ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนอย่างมีลำดับขั้นตอน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีรอยยิ้มในระหว่างการสอน