บรรยากาศในการเรียน
อาจารย์ตีตารางบนกระดานไว้ให้ดังนี้
เป็นตารางการตื่นนอนของเด็ก ๆ เพื่อบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษแข็งแผ่นเล็กให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้นักศึกษา เขียนชื่อตนเองลงไป มีลักษณะดังนี้
ต่อมา อาจารย์ก็ให้ทุกคนนำกระดาษที่เขียนชื่อของตนเอง ไปติดบนกระดานตามช่องที่เป็นเวลาตื่นนอนของตัวเอง หลังจากนั้นอาจารย์จึงสรุปว่า จากกิจกรรมที่เราได้ทำเป็นการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างไร โดยจะต้องคำนึงถึงสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ที่เด็กต้องได้รับเสมอ อันได้แก่
สาระที่ 1 จำนวนและดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต (พี-ชะ)
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
จากนั้น เพื่อน ๆ ก็ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน สรุปเนื้อหาได้ ดังนี้
- นางสาวประภาภรณ์ สายเนตร นำเสนอบทความ
เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
สาขาวิชาการจัดการการปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
สาขาวิชาการจัดการการปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ
กับวัตถุประสงค์ต่างๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว
เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัส
ให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ใน
ชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้
เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
1. การจำแนกประเภท
2. การจัดหมวดหมู่
3. การเรียงลำดับ
4. การเปรียบเทียบ
5. รูปร่างรูปทรง
6. พื้นที่
7. การชั่งตวงวัด
8. การนับ
9. การรู้จักตัวเลข
10. รู้จักความสำพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
11. เวลา
12. การเพิ่มและลดจำนวน
จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้รับการเรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริง
จะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวน เนื่องมาจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณ
ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เชิงจำนวน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจํานวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่
ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในชั้นเรียนระดับปฐมวัย
คือ การเปรียบเทียบและการประมวลข้อมูล หลายกิจกรรมในชั้นเรียนปฐมวัยเกี่ยวข้องกับ
การวิเคราะห์ข้อมูล เด็กปฐมวัยสามารถสร้างกราฟโดยใช้ของจริง เช่น
การใช้ตาราง
ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในชั้นเรียนระดับปฐมวัย
คือ การเปรียบเทียบและการประมวลข้อมูล หลายกิจกรรมในชั้นเรียนปฐมวัยเกี่ยวข้องกับ
การวิเคราะห์ข้อมูล เด็กปฐมวัยสามารถสร้างกราฟโดยใช้ของจริง เช่น
- การสร้างกราฟ การประมวลข้อมูลเกี่ยวกับเด็กๆ เลือกเวลารับประทานอาหารว่าง
- กราฟการเดินทางมาโรงเรียนของเด็ก ประกอบด้วยข้อมูลการเดินด้วยเท้า จักรยาน รถบัส
และรถส่วนตัว
- กราฟหัวข้อจํานวนของเด็กที่เกิดในวันต่างๆ
การจัดระบบและการวิเคราะห์ข้อมูล เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางการคิด ระดับสูง
คือ การวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการนําข้อมูลมาเปรียบเทียบและจำแนกหรือแบ่งเป็นกลุ่มที่มี
ความคล้ายกันหรือเหมือนกันต่อมาเด็กสามารถเปลี่ยนแปลง ข้อมูลไปสู่รูปแบบที่แตกต่างกัน
เช่น ตาราง กราฟ แผนภูมิหรือวิธีการอื่น ๆ เด็กปฐมวัยมีความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
ด้วยตนเองโดยใช้ตาราง หรือกราฟ ดังนี้
เด็กปฐมวัยสามารถสร้างตารางจากการนับ โดยเด็กๆเป็นผู้ปฏิบัติเอง
เช่นเด็กได้บันทึก แมลงประเภทต่าง ๆ จากการสังเกตบนพื้นดิน เด็กๆ สามารถจัดระบบข้อมูลให้
เป็นตารางบน กระดาษ ตารางแบ่งเป็นหมวดต่างๆ เช่น ชื่อแมลงแต่ละประเภท ภาพวาดของแมลง
และจํานวนของแมลง
การใช้กราฟ
เด็กปฐมวัยคนที่ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องของจํานวน ควรส่งเสริมให้
สร้างกราฟของจริง เช่น ถ้าเด็กปฐมวัยกําลังนับจำนวนของเมล็ดผักและผลไม้
เด็กๆ สามารถขีดเส้นจำนวนของเมล็ดฟักทอง แตงโม และแคนตาลูป
นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการนําข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากแบบ
นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการนําข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากแบบ
บันทึกการสังเกต จากแบบสอบถาม และจากภาพถ่าย มาเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่และหา
ความสัมพันธ์โดยสร้างเป็นแผนภูมิลําดับเหตุการณ์ เป็นแผนที่เป็นต้น
สรุป
คณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย เป็นการจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจําวันของเด็กเป็น
ฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยครูจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนา
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เรียนรู้
ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนรู้ที่สบายๆ กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจําวันและ
เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด
ได้ดีขึ้น
- นางสาวสุวนันท์ สายสุด นำเสนอวิจัย
สรุปวิจัย
เรื่อง การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
คณิตศาสตร์มีความสำคัญต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ที่ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล จึงมีการส่งเสริมคณิตศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ปฐมวัย การวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลาเป็นรูปแบบที่มีขั้นตอนการปฏิบัติ 8 ขั้นตอน มีหลักการสำคัญคือหลังจากระบุปัญหาที่ต้องการแล้วก็จะประเมินความต้องการจำเป็นของกลุ่มเป้าหมายเพื่อวางแผนในการแก้ไขปัญหา
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในวงรอบที่ 1 ทำาให้นักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการในเรื่องการนับ การรู้ค่าตัวเลขและการจับคู่ อยู่ในระดับดีถึงดีมากผลเป็นที่น่าพอใจ จากนั้นผู้วิจัยได้ทำาการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ในวงรอบที่ 2 โดยพัฒนาเรื่องการเปรียบเทียบและการเรียงลำาดับซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการอยู่ในระดับดีถึงดีมาก
- นางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์ นำเสนอวีดิโอ
เรื่อง เทคนิคการลบเลขโดยไม่ต้องขอยืม
เทคนิคการแก้ปัญหาการลบเลขแบบไม่ต้องยืม โดย ผศ.ชัยศักดิ์ ชั่งใจ ผู้เชี่ยวชาญการสอนคณิตศาสตร์โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เห็นว่าวิธีการลบเลขแบบที่เราเคยเรียนมา นักเรียนส่วนใหญ่จะมีปัญหา เมื่อเวลาที่ต้องลบเลขแบบตัวตั้งบางตัว เป็นตัวเลขที่น้อยกว่าตัวที่นำมาลบ เพราะนักเรียนต้องใช้วิธีการยืม เมื่อต้องยืมตัวเลขไปมาก็อาจจะทำให้ลืมที่จะต้องยืมได้ ค่าหรือคำตอบที่ได้ก็จะผิดพลาด เมื่อเด็กคิดผิดเด็กก็จะไม่อยากเรียน ไม่ตั้งใจเรียนและไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ไปในที่สุด แต่หากเป็นตัวตั้งที่มากกว่าก็ไม่มีปัญหาอะไร ดังนั้น อ.ชัยศักดิ์จึงได้คิดค้นวิธีการลบเลขแบบใหม่ขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “เทคนิคการลบเลขโดยไม่ต้องขอยืม” ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย และไม่ยุ่งยากในการลบเลข โดยได้ถ่ายทอดเทคนิคนี้ให้กับครูอีก 3 ท่านไปใช้อีกด้วยเป็นการสอนคณิตศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียน สามารถคิดเลขได้ดี การลบเลขของนักเรียนนั้นส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจเป็นอย่างมาก ทำให้นักเรียนที่ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ มีความชอบและความเข้าใจคณิตศาสตร์มากขึ้น ทำให้อยากเรียน และมีกำลังใจในการเรียนรู้วิชาคณิศาสตร์มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นทางเลือกให้คุณครูทั้งหลายได้มีวิธีการสอนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเรียนคณิตศาสตร์ถ้าเข้าใจ สนุก นักเรียนก็จะมีความสุขและรักการเรียนมากขึ้น
ตัวอย่าง
ซึ่งวิธีการนี้อาจจะทำให้เด็กยืมและลืม สับสนว่าเลขใดเป็นเลขใด หากคิดเลขผิดไปหนึ่งตัวก็จะทำให้คำตอบผิดไปได้ ผศ.ชัยศักดิ์ ชั่งใจ จึงคิดวิธีการลบเลขโดยไม่ต้องยืม โดยมีวิธีการดังนี้ วิธีการก็คือ เปลี่ยนตัวเลขตัวตั้งที่น้อยกว่าตัวลบให้เป็นเลขฐานสิบที่มากที่สุดคือเลข 9 และตัวตั้งที่มากกว่าอยู่แล้วให้ลบออกไป 1 ตัวอย่างเช่น
ซึ่ง 4,204 ยังไม่ใช่คำตอบของโจทย์นี้เพราะตั้งตั้งได้เปลี่ยนไป วิธีการต่อมาคือ การนำคำตอบ แล้วตัวเลขที่ถูกเปลี่ยนจากโจทย์คือ 204 มาบวกกับ 1 อีก ซึ่ง 1 คือตัวเลขที่ถูกลบจากตัวตั้งที่มากกว่า
เพียงเท่านี้เราก็จะได้คำตอบของโจทย์นี้ โดยไม่ต้องใช้การขอยืม ทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียนคณิตศาสตร์และเข้าใจได้ง่ายขึ้น วิธีการนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีสมองช้าและสมองปานกลาง
กิจกรรมต่อมาคือ การร้องเพลง อาจารย์ก็สอนร้องเพลงต่าง ๆ ที่สามารถบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้ อาจจะมีการดัดแปลงเนื้อเพลง แต่ยังใช้ทำนองเดิม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ หลากหลายมากขึ้น ต่อมาก็เป็นคำคล้องจอง ที่สามารถนำไปสอนเด็ก ๆ ได้ และเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับหลักสูตรที่ดี
ส่วนมากแล้ว บรรยากาศในการเรียนก็จะเป็นการพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
ความรู้ที่ได้รับ
- จากตารางการตื่นนอน ทำให้รู้จำนวนเด็ก และยังเป็นการฝึกการนับ บอกจำนวน และใส่ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับ ให้เด็กได้เห็นบ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดเป็นความรู้และมีทักษะทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นได้
- จากตาราง ทำให้เด็กได้เรียนรู้การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิ และช่วงเวลา ก่อน-หลัง มีการเปรียบเทียบ มากกว่าหรือน้อยกว่า
- การออกแบบสื่อแต่ละชิ้น ต้องคุ้มค่า และประยุกต์ได้หลากหลาย มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
- เด็กจะมีพัฒนาการเริ่มจากการใช้ภาพ เขียนตามรอยปะ และเขียนได้เอง (คณิตศาสตร์)
- คำว่า "พัฒนาการ" คือความสามารถหรือสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ ตามช่วงวัยหรือช่วงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นลำดับขั้นตอน
- การลงมือทำ หรือลงมือปฏิบัติด้วยตนเองซ้ำ ๆ สม่ำเสมอ = เป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
- การเรียนรู้ที่แตกต่าง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Learnning Style
- ลักษณะหลักสูตรที่ดี จะมีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
- เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
- เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ
- แนะนำคำศัพท์ใหม่ ๆ และสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
- สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
- ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้ สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
- เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด มีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน
- เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า สำรวจ ปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง
- แนวคิด สังกัด ความคิดรวบยอด Koncept เป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน แต่สามารถใช้ได้หลายคำ
- การปฏิบัติ จะทำให้เกิดทักษะ และเกิดเป็นความคิดรวบยอด
- มีความรู้เกี่ยวกับเพลง และคำคล้องจองที่สามารถบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้มากขึ้น เช่น
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการร้องเพลง การอ่านคำคล้องจอง
- ทักษะการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
- ทักษะการคิดวิเคราะห์จากประเด็นปัญหา
- ทักษะการคิดเลขเร็ว
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับเพลงต่าง ๆ คำคล้องจองต่าง ๆ ก็สามารถนำไปสอนเด็ก ๆ ได้
- สามารถนำความรู้ไปจัดประสบการณ์ให้เด็ก ๆ อย่างหลากหลายรูปแบบ เพราะเด็กแต่ละคนก็มีการเรียนรู้ที่ช้า-เร็วแตกต่างกัน
- จากสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ทุกครั้งที่จะจัดกิจกรรม สามารถนำไปเป็นหลักการในการจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้ เพื่อให้เด็กมีความรู้และทักษะที่ครบถ้วน
เทคนิคการสอนของอาจารย์
- อาจารย์จะให้ประเด็นปัญหา หรือกำหนดโจทย์ให้นักศึกษาทำ แล้วหลังจากนั้น ก็จะพูดคุยแลกเปลี่ยนหลักการและเหตุผลกัน ถ้ายังไม่ถูกต้องอาจารย์ก็จะช่วยแนะนำให้ดียิ่งขึ้น
- อาจารย์จะสอดแทรกคุณธรรมในระหว่างการสอน เช่น ความรับผิดชอบในการเข้าเรียน หรือการทำงาน เป็นต้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย จะเข้าใจเนื้อหามากขึ้น เวลาที่อาจารย์ยกตัวอย่าง หรือเล่าประสบการณ์ให้ฟังประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน มีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอที่แตกต่าง หลายรูปแบบ แต่อาจจะพูดคุยเสียงดังบ้าง เมื่ออาจารย์เตือน ก็กลับมาตั้งใจเรียนเหมือนเดิม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนอย่างมีลำดับขั้นตอน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีรอยยิ้มในระหว่างการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น