บรรยากาศในการเรียน
เมื่อเริ่มการเรียนการสอน อาจารย์ก็แจกกระดาษ A4 ให้หยิบคนละ 1 แผ่น จากนั้นก็ให้ตีตารางดังภาพต่อไปนี้
กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร
จากนั้น อาจารย์ก็ให้แรเงาช่องที่แบ่งเป็น 2 แถว โดยให้โจทย์ว่า ให้แรเงา 2 ช่องติดกัน รูปแบบใดก็ได้ ให้ได้มากที่สุด
โจทย์ต่อมาคือ ให้แรเงาช่องที่มี 3 แถว โดยแรเงาช่อง 3 ช่องให้ติดกัน รูปแบบใดก็ได้ ให้ได้จำนวนมากที่สุด
กิจกรรมต่อมา อาจารย์เปิดวีดีโอโทรทัศน์ครูให้ดู เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ
Project Approach https://www.youtube.com/watch?v=ffbZFWVFrEs (คลิกลิงก์ เพื่อชมวีดีโอ) เมื่อดูเสร็จแล้ว สรุปได้อย่างไร การจัดการเรียนรู้แบบนี้ มีความเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร ก็มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในห้องเรียน
จากนั้น เพื่อน ๆ ก็มานำเสนอหน้าชั้นเรียน
- นางสาวมาลินี ทวีพงศ์ นำเสนอบทความ
สรุป บทความ
เรื่อง เลขคณิตคิดสนุก แนะนำพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน
จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยอาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์
โดยอาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อ.สุรัชน์
กล่าวว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง แต่ถ้ายังขาดการให้เหตุผล
ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กฝึกคิดหาเหตุผลได้
โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด
ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น
หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร
ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้
หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์
เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
ให้พ่อแแม่และเด็กทำเยลลีด้วยกัน เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องทักษะการชั่ง การตวง การวัด หรือชักชวนลูกไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ การประดิษฐ์กล่องของขวัญ การทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ
ให้พ่อแแม่และเด็กทำเยลลีด้วยกัน เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องทักษะการชั่ง การตวง การวัด หรือชักชวนลูกไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ การประดิษฐ์กล่องของขวัญ การทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ
สรุป
"การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น"
"การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น"
- นางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์ นำเสนอวีดีโอ (แก้ไข จากสัปดาห์ที่แล้ว)
สรุปวีดิโอ เรื่อง ลูกเต๋ากับการเรียนรู้
ของครู นิตยา ถาชัย ครูประจำชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านยางขาม นำความคิดนี้มาจากโทรทัศน์ครูและนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน โดยหลักการของครูคือ การใช้ลูกเต๋าเพื่อเป็นสื่อใสการเรียนรู้ของเด็กและนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ซึ่งในของจะสาธิตการสอนได้ 2 อย่างคือ 1 เรื่องจำนวนคู่-จำนวนคี่ โดยครูให้เด็กแต่ล่ะคนโยนลูกเต๋าและให้เด็กนับจำนวนบนลูกเต๋าว่ามีจำนวนเท่าใดและนำไปเขียนบนกระดานโดยบนกระดานจะมีตารางซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งของจำนวนคู่และจำนวนคี่เมื่อเด็กโยนเสร็จแล้วครูก็จะถามเด็กว่านี่คือเลขอะไรและเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ เรื่องที่ 2 คือเรื่องการบวกเลขอย่างง่ายโดยการใช้ลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกันและให้เด็กนับจำนวนว่าแต่ล่ะลูกมีจำนวนเท่าใด และนำมาบวกกันจากนั้นครูและเด็กก็ร่วมกันแต่งโจทย์ปัญหาอย่างง่ายขึ้นมา เช่น แม่มีแมวอยู่ 3 ตัว พ่อซื้อมาอีก 4 ตัว ตอนนี้แม่มีแมวทั้งหมดกี่ตัว
ซึ่งวีดิโอนี้จะสรุปได้ว่า เด็กจะได้รับความรู้จากสื่ออุปกรณ์ที่ครูเตรียมมาให้ได้อย่างเห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้นและกิจกรรมในครั้งนี้บังให้ทั้งความรู้ความสนุกสนาน รวมไปถึงสร้างความแข็งแรงในด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอีกด้วย ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์มาก
ท้ายคาบเรียน อาจารย์จึงมอบหมายงานให้เตรียมนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษารูปแบบต่าง ๆ (งานกลุ่ม) และแจกไม้เสียบ ให้คนละ 12 แท่ง เพื่อนำมาทำกิจกรรมในชั่วโมงหน้า
ความรู้ที่ได้รับ
- ก่อนจะจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ใด ๆ ให้แก่เด็ก ครูจะต้องประเมินพัฒนาการว่าเด็กมีความสามารถ มีศักยภาพมากน้อยเพียงใด และศึกษาทำความเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน เพื่อจะได้สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านไปพร้อม ๆ กัน และทำให้กิจกรรมนั้น บรรลุวัตถุประสงค์ได้
- จากกิจกรรมการแรเงาช่องสี่เหลี่ยมนั้น ทำให้ได้ความรู้ว่า โจทย์ 1 โจทย์ เราสามารถคิดได้หลากหลายรูปแบบ แตกแขนงได้มากมาย และสังเกตได้ว่าเพื่อนแต่ละคนนั้น มีจำนวนแรเงาที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเหมือนกับการจะจัดการเรียนการสอนให้เด็ก เด็กย่อมมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูต้องเรียนรู้ และจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก
- จากการนำเสนอของเพื่อน ๆ ทำให้ได้ความรู้ที่แปลกใหม่ เพราะคณิตศาสตร์สามารถประยุกต์ได้หลายอย่าง และอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา
- จากวีดีโอ โทรทัศน์ครู การสอนแบบ Project approach นั้น ทำให้ได้ความรู้จากผู้มีประสบการณ์ และได้เห็นวิธีการจัดการเรียนการสอนว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
- เกมการศึกษา ได้แก่ สังเกตรายละเอียด (Lotto), จัดหมวดหมู่, จับคู่, โดมิโน, เรียงลำดับ, จิ๊กซอว์, พื้นฐานการบวก-ลบ, เกมความสัมพันธ์ 2 แกน
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิดจากโจทย์ปัญหา
- ทักษะการคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดแตกแขนง
- ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ให้เด็กที่ถูกต้องและหลากหลาย ซึ่งได้แนวคิดจากอาจารย์ จากเพื่อน และวีดีโอต่าง ๆ ก็ทำให้สามารถจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัยได้
- จากกิจกรรมวันนี้ ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ คิดอย่างหลากหลายรูปแบบ ซึ่งฝึกให้เรารู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
- อาจารย์จะสอนให้นักศึกษาได้คิดอิสระ และลงมือทำเองตามความเข้าใจ โดยกำหนดโจทย์มาให้ จากนั้นอาจารย์ก็จะสรุปสุดท้าย ว่ากิจกรรมนี้มีความเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร นักศึกษามีความเข้าใจถูกต้องหรือไม่ อาจารย์ก็จะแนะนำหลังจากทำกิจกรรมเสร็จ
- อาจารย์จะเน้นให้ทุกคนมีความเป็นครูให้เกิดขึ้นในตัวนักศึกษา เช่น การเข้าใจความแตกต่างของเด็ก การให้โอกาสเด็กได้ฝึกฝนตนเอง จนประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องมีความเมตตา นอกจากจะสอนวิชาการแล้ว ต้องปลูกฝังสิ่งที่ดีงาม และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กด้วย
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย อาจจะมีเล่นบ้างบางครั้ง แต่เวลาทำงานก็ตั้งใจทำ สิ่งที่อาจารย์สอน ก็จะนำมาคิดและทำความเข้าใจ จดบันทึกเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้ตนเอง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความตั้งใจ และเตรียมความพร้อมในการมานำเสนองาน บางคนเนื้อหาอาจจะยังไม่ถูกต้องเท่าที่ควร แต่ก็ยินดีที่จะนำไปแก้ไข และมานำเสนอในสัปดาห์ถัดไป
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แนะนำแนวทางที่ดีกับนักศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้โอกาสเมื่องานที่นำเสนอยังไม่ถูกต้อง โดยให้นำกลับไปแก้ไข และมานำเสนอใหม่ โดยไม่ตัดสิทธิ์ของนักศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น