วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพุธที่ 9 มีนาคม 2559 เวลา 08.30-12.30 น.
บรรยากาศในการเรียน
          วันนี้ อาจารย์เริ่มเข้าสู่การเรียน โดยการทบทวนความรู้ การศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ ว่าการเรียนการสอนที่นั่นเป็นอย่างไร จัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างไร และอาจารย์ก็แนะนำ เชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ให้บูรณาการกับกิจกรรมอย่างอื่นได้ เช่น 
  • กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบผู้นำ-ผู้ตาม แตะไหล่ ยกขึ้น กางแขน แตะไหล่ ยกขึ้น กางแขน... เมื่อทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จะทำให้เด็กเรียนรู้เองว่า ต่อไปจะเป็นท่าอะไร ต้องทำท่าอย่างไร ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์/พีชคณิต ในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • การนับเลข 5 3 1 , 3 5 7  จะเห็นว่า เลขชุดแรกมีการลดจำนวนลงทีละ 2 และเลขชุดที่ 2 มีการเพิ่มจำนวนขึ้นทีละ 2 เป็นต้น
          จากนั้น ก็เป็นการนำเสนองานของเพื่อน ๆ และทำมายแม็ปลงในกระดาษที่อาจารย์แจกให้คนละแผ่น เกี่ยวกับการกำหนดหน่วยการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเราจะตั้งชื่อหน่วยอะไรก็ได้ที่เห็นว่าเป็นที่น่าสนใจ เด็กอยากจะเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แล้วโยงหัวข้อย่อย ขอบเขตของเรื่องออกมาให้ชัดเจน หน่วยที่ตั้งนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว หรือมีผลกระทบกับเด็ก จาก 4 ข้อดังนี้
  1. เรื่องเกี่ยวกับตัวเด็ก
  2. สิ่งต่าง ๆ รอบตัว
  3. บุคคลและสถานที่
  4. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก 


          เมื่อทุกคนทำเสร็จแล้ว อาจารย์ก็จะนำมาแนะนำ อภิปรายว่าเหมาะสมหรือยัง ควรปรับปรุงแก้ไขส่วนใดให้ถูกต้องยิ่งขึ้น แล้วก็มอบหมายให้ทำงานเป็นกลุ่ม นำเสนอสัปดาห์ถัดไป



ความรู้ที่ได้รับ

  • การสอนต้องเหมาะสมกับพัฒนาการ และการจัดประสบการณ์ต้องเหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
  • การเปรียบเทียบการวัดจากสายวัด สามารถใช้เชือกแทนได้
  • รูป 3 มิติหรือของจริง เหมาะสำหรับเด็กเล็ก ส่วนรูปมิติเดียว เหมาะสำหรับเด็กที่โตขึ้น
  • 1 โครงการสามารถบูรณาการได้ทั้ง 6 สาระการเรียนรู้
  • การแตกกระจายของมายแม็ปปิ้ง จะสอนให้เด็กได้แนวความคิดรวบยอด หรือเรียนรู้การคิดแบบมีคอนเซ็ป
  • การนำเสนอของเพื่อน 
  • นางสาวภทรธร  รัชนิพนธ์  นำเสนอวีดีโอ

วิดีโอโทรทัศน์ครู
คณิตศาสตร์ (ตัวเลข) สำหรับเด็กปฐมวัย
         
สรุป - กล่าวถึงครูที่อยู่โรงเรียนประถมเกรตบาร์  ในเบอร์มิงแฮมว่ามีวิธีการรับมืออย่างไรในการสังเกตการณ์เด็ก ๆ และจะวางแผนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นอนุบาลรวมไปถึงประถมอย่างไร

     ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกสนานและเป็น­ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรตบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็ก ๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย
     ซึ่งครูจะหยิบตัวเลข 6 แล้วบอกว่าตัวนี้เลข 4 ใช่ไหม ลองเชิงเด็กๆว่าสนใจอยู่ไหม เด็กๆก็จะบอกว่านั้นไม่ใช่เลข 6 แต่เป็นเลข 4 และครูก็ให้เด็ก ๆ ออกมาหยิบดูว่าเลข 6 ที่แท้จริงเป็นแบบไหน  ครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็ก ๆ ผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื่อวางแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็ก ๆ แล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนไปในทางดีด้วย

สิ่งสำคัญ : การสอนคณิตศาสตร์ เด็กเล็ก เกม กิจกรรมนอกห้องเรียน เรียนรู้ผ่านชีวิตประจำวัน เลขในชีวิตประจำวัน การสร้างแรงบันดาลใจ สื่อการสอน การวัดประเมิน การสังเกตการณ์ การทำงานเป็นทีม การประชุมครู การวางแผนการสอนร่วมกัน การแข่งขัน ความสนุกในการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสนุกกับตัวเลข การจัดลำดับ การจดจำตัวเลข การคำนวณ คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยการศึกษาแบบอิสระ การเรียนรู้อย่างอิสระ ความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครอง scaffolding การแนะแนวร่วมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์อีกด้วย

  • นางสาวจิราภรณ์  ฟักเขียว  นำเสนอวีดีโอ
สรุปวิดีโอโทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครู เรื่องไข่ดีมีประโยชน์

        โดยคุณครูรจนา สังวรสินธุ์ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ได้สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่ ชนิดของไข่ส่วนประกอบของไข่ ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยากให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับประทานไข่ แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้

กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น

กิจกรรมที่ 2 ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและได้รู้จักสัตว์เพิ่มมากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะเล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็กกล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานครูนำนิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดูเพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้นแตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย

กิจกรรมที่ 3 ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิทมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเด็กให้เด็กช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมดห้าตระกล้าเล็กๆ นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีกด้วยโดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมากน้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ฟองครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี 10 ฟอง ครูถามว่าใครในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง ละครูก็ถามว่าตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากันครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีเนื้อสีนำ้ตาลดำส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้า ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดงของไข่เป็ดเเละไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะสามารถตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่

กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกิ้งคือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆได้และเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกันทำคุกกิ้งเด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไปช่วยได้เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตาตายังไม่ประสานสัมพันธ์กันเด็กไม่สามารถก่ะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดีหลังจากนั้นให้เด็กลงมือตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by doingเด็กจะเกิดประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น
  • นางสาวสุวนันท์ สายสุด  นำเสนอวิจัย
สรุปวิจัย  (แก้ไข)
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

- ความมุ่งหมายของวิจัย
       เพื่อเปรี่ยบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

- สมมติฐานในการวิจัย
       เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

- ขอบเขตการวิจัย
        นักเรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง

- เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
         1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
         2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

- สรุปผลวิจัย
          เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น

- แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
หน่วย ต้นไม้  หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้
   มโนทัศน์  ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง
   จุดประสงค์
           สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้
  
กิจกรรมศิลปะ  ศิลปะค้นหา

กิจกรรมการเรียนการสอน
ขันนำ
1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
ขั้นสอน
3.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวนสนามเล่นในโรงเรียน บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
4.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่  ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด  ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
7.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบ
 สรุป
ให้เด็ก ๆ ถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้

สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)

ประเมิน
1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก
ทักษะที่ได้รับ 
  • ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการคิดโดยแตกแขนง (จากการทำมายแม็ปปิ้ง)

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น ทั้งจากการที่อาจารย์สอน แนะนำ และการไปศึกษาดูงาน การปฏิบัติจริง ทำให้มีแนวทางการสอนในอนาคต สามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลายมากขึ้น
  • การทำมายแม็ปปิ้ง จะทำให้เรารู้จักคิดอย่างมีเหตุผล ครอบคลุม ชัดเจน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนและการทำงานในอนาคตได้เช่นกัน

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน หากมีข้อควรเพิ่มเติม อาจารย์ก็จะอธิบาย ยกตัวอย่างให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาในการทำงานครั้งต่อไป

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์มอบหมาย มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์และเพื่อน ๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอมาดี เข้าใจง่าย และตั้งใจเรียน กล้าพูดกล้าแสดงออกในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใจดี และสอนอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ให้โอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ให้อิสระทางความคิด อำนวยความสะดวกเกี่ยวกับอุปกรณ์การทำงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น