วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพุธที่ 20 เมษายน 2559 เวลา 08.30-12.30 น.

บรรยากาศในการเรียน
           วันนี้อาจารย์ให้ส่งโครงร่างนิทาน Big Book ที่เกี่ยวกับหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับ เมื่อแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแนวคิด หรือเนื้อเรื่องของนิทานที่มีการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ร่วมด้วยแล้วนั้น อาจารย์ก็จะให้คำแนะนำเพิ่มเติม ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และก็เป็นการนำเสนองานวิจัยของเพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอ และอาจารย์ก็มอบหมายงานให้ทำนิทาน โดยให้ร่างรูปภาพเป็นการใช้เส้นระบาย แทนการระบายสี และนำมาส่งในคาบเรียนต่อไป

นิทานเรื่อง กล้วยน้อยช่างคิด

นิทานเรื่อง หนูจินสอนเพื่อน

นิทานเรื่อง ประโยชน์ของผลไม้

นิทานเรื่อง หมีน้อยกับรถคู่ใจ

  • นางสาวยุคลธร ศรียะลา นำเสนองานวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 
  • ผู้วิจัย คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว




ความรู้ที่ได้รับ
  • นิทานควรมีตัวละครที่ดำเนินเรื่อง และมีการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์เข้าไปในเนื้อเรื่องอย่างเหมาะสม ให้สอดคล้องกับสิ่งที่เรากำลังนำเสนอผ่านการเล่านิทาน
  • ตัวหนังสือ หรือรูปภาพที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เราอาจจะเน้นคำ เน้นสี ให้แปลกไปจากเดิม เพื่อให้เกิดความแตกต่าง และสามารถทำให้เด็กเรียนรู้ และจดจำได้ง่ายขึ้น
  • การแต่งนิทานโดยใช้คำคล้องจอง จะทำให้นิทานมีความน่าสนใจมากกว่าการเล่าเรื่องธรรมดา
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง (การแต่งคำคล้องจอง การเล่านิทาน การนำเสนองาน)
  • ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
  • ทักษะการคิดแก้ปัญหา และการคิดเชื่อมโยง บูรณาการ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถแต่งนิทานจากหน่วยที่จะสอนได้ และนำวิชาคณิตศาสตร์มาบูรณาการในเนื้อเรื่องของนิทานได้ เพื่อให้เด็กได้ทั้งความเพลิดเพลิน ความรู้เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ และได้ทักษะทางคณิตศาสตร์
  • การได้แลกเปลี่ยนแนวคิด หรือผลงานจากเพื่อนหลาย ๆ กลุ่ม ทำให้ได้แนวคิดที่แปลกใหม่ หลากหลาย ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต โดยการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หรืออาจจะเป็นกิจกรรมอื่น ๆ ที่เราสามารถเชื่อมโยงทักษะทางคณิตศาสตร์ได้
  • จากงานวิจัยของเพื่อน ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติม ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ซึ่งสามารถเป็นความรู้พื้นฐานในการนำไปปรับเปลี่ยน ประยุกต์ใช้ในการสอนให้ดีขึ้นได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์ให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษานำเสนอในสิ่งที่ตนเองเตรียมมา หรือตนเองมีความเข้าใจอย่างนั้นก่อน แล้วอาจารย์ก็จะให้คำแนะนำเพิ่มเติม ติชมว่าสิ่งใดถูกต้องแล้ว สิ่งใดต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดี ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยการสอดแทรกแนวคิดใหม่ ๆ ที่แตกแขนงออกไปจากเดิม หรือการยกตัวอย่าง เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจยิ่งขึ้น แล้วนำไปคิดต่อยอด เพื่อพัฒนาผลงานให้ดีกว่าเดิม
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : อาจจะมีเล่นบ้าง แต่เมื่อเพื่อนนำเสนอแนวคิดต่าง ๆ อาจารย์ให้คำแนะนำก็จะตั้งใจฟัง จดบันทึกสาระสำคัญไว้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนองานมาดี ได้เห็นความแปลกใหม่ของแต่ละกลุ่ม เห็นความรู้ความสามารถในการแต่งนิทาน และการบูรณาการคณิตศาสตร์ของเพื่อน ๆ
ประเมินอาจารย์ : ชอบเวลาอาจารย์ยิ้ม หัวเราะ ให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษา ซึ่งต่อให้เนื้อหาอาจจะยากบ้าง บรรยากาศของการเรียนก็จะไม่เครียด เพราะอาจารย์มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาตลอดเวลา ให้คำปรึกษา คำแนะนำในสิ่งที่ดี

       

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 08.30-12.30 น.


บรรยากาศในการเรียน
          วันนี้ เป็นการนำเสนอวิจัยของเพื่อน ที่ยังไม่ได้นำเสนอ
  • นายอารักษ์ ศักดิกุล นำเสนอวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิจัยเพิ่มเติม เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ 
        การวิจัยครั้งนี้ เปนการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของ เด็กปฐมวัยกอนและหลังการทํากิจกรรมศิลปสรางสรรควยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเปนประโยชน และเปน แนวทางสําหรับครู ผูปกครอง และผูที่เกี่ยวของกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะชวยสงเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรแกเด็กปฐมวัยไดอยางเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้
 ความมุงหมายของการวิจัย
       เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัย กอนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปสรางสรรควยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่
กลุมตัวอยาง  
       กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ เปนเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ซึ่งกําลัง ศึกษาอยูในชั้นอนุบาลปที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2การศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุกไก  สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  จํานวน  20 คน
       กิจกรรมศิลปสรางสรรควยขนมอบเปนกิจกรรมที่ใชขนมอบประเภทตางๆ ในการทํากิจกรรม เชน ขนมปง คุกกี้ เคก ฯลฯ ซึ่งในการทํากิจกรรมเด็กสามารถเลือกทําไดตามความสามารถ และ ความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค เพื่อใหเด็กไดเกิดการเรียนรู จากการใชประสาทสัมผัสในการทํากิจกรรม ศิลปะสรางสรรควยขนมอบ ทั้งนี้ยังฝกฝนเรื่องการสังเกตและการจําแนก การเปรียบเทียบ การจัด หมวดหมู ซึ่งผูวิจัยสรางขึ้นโดยยึดหลักของการทํากิจกรรมศิลปสรางสรรค ตามคูมือหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรค ตลอดจนการยึด ตามความเหมาะสมสอดคลองกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเปนหลัก

แผนการสอน
ชื่อกิจกรรม  ขนมปงแผนแตงหนา 

จุดประสงค
1. เพื่อใหนักเรียนไดพัฒนาการใชกลามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธระหวางมือกับตา 
2. เพื่อใหนักเรียนไดกการรับรูประสาทสัมผัส 
3. เพื่อใหนักเรียนไดรูจักสีแดง  สีขาว  สีเขียว  สีชมพู 
4. เพื่อใหนักเรียนไดกทักษะการสังเกตและการจําแนก  เปรียบเทียบ  จัดหมวดหมู 
5. เพื่อใหนักเรียนไดงเสริมการแสดงออก 
6. เพื่อใหนักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
เนื้อหา    ขนมปงแผนแตงหน
กิจกรรมการเรียนรู 
ขั้นนํา  (กระตุ้นเด็ก)
1. นักเรียนและครูสนทนารวมกันคิดหาคําตอบจากปริศนาคําทาย อะไรเอย เปนแผน  สีขาว  นิยมทานคูกับแยม   
2. นักเรียนและครูสนทนารวมกัน  ดังนี้    
     2.1 ขนมปงมีลักษณะอยางไร  มีสีอะไร    
     2.2 ขนมปงมีสีอะไร  รสชาติเปนอยางไร  มีใครเคยทานบาง    
     2.3 นักเรียนคิดวาขนมปงทํามาจากอะไร    
     2.4 นักเรียนคิดวาขนมปงมีประโยชนไหม  และมีประโยชนอยางไร 
ขั้นสอน  
1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณตามความสนใจของตนเอง 
2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจ โดยการนําขนมปงแผนรูปทรงตางๆ แยมผลไม  เกล็ด ช็อกโกแลต มาโรยหนา ทา วาด เขียน เพื่อสรางชิ้นงานตามความคิดและจินตนาการของตนเอง  
3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแลวใหนําชิ้นงานวางบนถาดรองไปจัดรวมกันไวที่หนาชั้นเรียน  
4. เด็กชวยกันเก็บของ  ทําความสะอาดใหเรียบรอย
ขั้นสรุป  
1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนารวมกับครู  ดังนี้   
     1.1 นักเรียนใชขนมปงรูปทรงใดบางมาทํากิจกรรม   
     1.2 ในชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรที่เหมือนกัน  และอะไรที่ตางกัน  ตางกันอยางไร   
     1.3 ขนมปงของนักเรียนมีอะไรซอนอยูางใน   
     1.4 นักเรียนคิดวาระหวางแยมผลไม กับเกล็ดช็อกโกแลต และขนมปง ตางกันหรือ เหมือนกันอยางไรบาง  
สื่อการเรียน 
1. ขนมปงแผนรูป 
2. แยมผลไมบรรจุในถุง 3สี  คือ  แยมสม  แยมสตอเบอรี่  แยมบลูเบอรรี่  แยมสัปปะรด
3. เกล็ดช็อกโกแลต 
4. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน 
5. าพลาสติกปูโตะ 
6. ถาดสําหรับใสขนม 
การประเมินผล 
1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา 
2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม  

          จากนั้น แต่ละกลุ่มก็ออกมานำเสนอการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับหน่วย ยานพาหนะ ผลไม้ กล้วย และของเล่น ของใช้
  • กลุ่มแรก นำเสนอหน่วย ยานพาหนะ (ประเภทของยานพาหนะ ทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ)


โดยมีการนำคณิตศาสตร์มาบูรณาการ คือ 
การนับจำนวนยานพาหนะ การเปรียบเทียบมากที่สุด หรือน้อยที่สุด

  •    กลุ่มที่ 2 นำเสนอหน่วย ผลไม้ (กลุ่มดิฉันเองค่ะ)

ให้เด็กได้สังเกต ชิมรสชาติของมะยงชิด และองุ่น
ถามและแลกเปลี่ยนว่ามีลักษณะอย่างไร มีรสชาติอย่างไร
  • กลุ่มที่ 3 นำเสนอหน่วย กล้วย

  • กลุ่มที่ 4 นำเสนอหน่วย ของเล่น ของใช้

     หลังจากที่แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ แผนการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ แล้ว อาจารย์ก็จะแนะนำ ติชมว่าควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร



ความรู้ที่ได้รับ
  • จากการนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ของกลุ่มดิฉัน หน่วยผลไม้ ได้ความรู้และคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
          -  ผลไม้ต้องใกล้ตัวเด็ก หรือถ้าเป็นผลไม้ที่แปลกใหม่อาจจะทำเป็นภาพจิ๊กซอว์
          -  ถามคำถามเด็กแล้ว บันทึกลงกระดาษทันที โดยคำที่เขียนลงไปควรมีรูปภาพให้เด็กได้เรียนรู้ ถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบภาษาธรรมชาติ
          -  สามารถสอนขนาดที่แตกต่างกัน โดยการเปรียบเทียบได้
          -  ให้เด็กดูส่วนประกอบภายนอกก่อน จากนั้นก็บันทึกข้อมูล แล้วให้เด็กชิมรสชาติ สังเกตส่วนประกอบภายใน ถามรสชาติ เช่น เปรี้ยว หวาน หรือหวานอมเปรี้ยว
  • เมื่อสอนขั้นนำ เช่น ใช้เพลง คำคล้องจอง นิทาน ปริศนาคำทาย เป็นต้น หลังจากนั้น จะต้องทบทวน ถามเด็กจากที่สอนไป แล้วถามประสบการณ์เดิม หรือสิ่งที่ได้พบเห็นนอกจากนั้น
  • กำหนดหัวข้อที่จะถามเด็กให้ชัดเจน
  • บางตัวอย่างที่ใช้ในการสอน ถ้าไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง ๆ ครูอาจจะนำตัวอย่างมาให้เด็กดูได้
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการสอนเด็กปฐมวัย
  • ทักษะการจัดกิจกรรมจากแผนประสบการณ์
  • ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
  • ทักษะการคิดเชื่อมโยง การบูรณาการวิชาการมาใช้ในกิจกรรม
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • นำความรู้ในการจัดกิจกรรมที่ได้จากเพื่อน ๆ และคำแนะนำจากอาจารย์มาใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยในอนาคตได้
  • เมื่อมีข้อมูลความรู้ และได้ปฏิบัติจริง ทำให้ได้เห็นข้อดีของแต่ละกลุ่ม และได้รู้ข้อเสียที่ควรปรับปรุง ก็จะทำให้เกิดทักษะ การจัดประสบการณ์ในครั้งต่อไป ก็จะถูกต้องมากยิ่งขึ้น
เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์จะให้นักศึกษามานำเสนอก่อน จากนั้นจึงจะให้คำแนะนำ ติชม ให้แนวทางในการนำเสนอที่ถูกต้อง รวมถึงแนวทางในการเขียนแผน การปฏิบัติตามแผนที่เหมาะสมและสามารถบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ลืมอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในการนำเสนอ แต่ก็ช่วยกันหาวิธีแก้ไข และช่วยเหลือกิจกรรมเพื่อนอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีกิจกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ น่าเรียน มีแนวความคิดที่แปลกใหม่
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมดี แต่บางอย่างต้องปฏิบัติจริง จึงจะเข้าใจและรู้จุดบกพร่องที่ต้องนำมาแก้ไข