บรรยากาศในการเรียน
วันนี้อาจารย์ให้ส่งโครงร่างนิทาน Big Book ที่เกี่ยวกับหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับ เมื่อแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแนวคิด หรือเนื้อเรื่องของนิทานที่มีการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ร่วมด้วยแล้วนั้น อาจารย์ก็จะให้คำแนะนำเพิ่มเติม ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และก็เป็นการนำเสนองานวิจัยของเพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอ และอาจารย์ก็มอบหมายงานให้ทำนิทาน โดยให้ร่างรูปภาพเป็นการใช้เส้นระบาย แทนการระบายสี และนำมาส่งในคาบเรียนต่อไป
นิทานเรื่อง กล้วยน้อยช่างคิด
นิทานเรื่อง หนูจินสอนเพื่อน
นิทานเรื่อง ประโยชน์ของผลไม้
นิทานเรื่อง หมีน้อยกับรถคู่ใจ
- นางสาวยุคลธร ศรียะลา นำเสนองานวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
- ผู้วิจัย คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว
ความรู้ที่ได้รับ
- นิทานควรมีตัวละครที่ดำเนินเรื่อง และมีการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์เข้าไปในเนื้อเรื่องอย่างเหมาะสม ให้สอดคล้องกับสิ่งที่เรากำลังนำเสนอผ่านการเล่านิทาน
- ตัวหนังสือ หรือรูปภาพที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เราอาจจะเน้นคำ เน้นสี ให้แปลกไปจากเดิม เพื่อให้เกิดความแตกต่าง และสามารถทำให้เด็กเรียนรู้ และจดจำได้ง่ายขึ้น
- การแต่งนิทานโดยใช้คำคล้องจอง จะทำให้นิทานมีความน่าสนใจมากกว่าการเล่าเรื่องธรรมดา
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง (การแต่งคำคล้องจอง การเล่านิทาน การนำเสนองาน)
- ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
- ทักษะการคิดแก้ปัญหา และการคิดเชื่อมโยง บูรณาการ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถแต่งนิทานจากหน่วยที่จะสอนได้ และนำวิชาคณิตศาสตร์มาบูรณาการในเนื้อเรื่องของนิทานได้ เพื่อให้เด็กได้ทั้งความเพลิดเพลิน ความรู้เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ และได้ทักษะทางคณิตศาสตร์
- การได้แลกเปลี่ยนแนวคิด หรือผลงานจากเพื่อนหลาย ๆ กลุ่ม ทำให้ได้แนวคิดที่แปลกใหม่ หลากหลาย ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต โดยการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หรืออาจจะเป็นกิจกรรมอื่น ๆ ที่เราสามารถเชื่อมโยงทักษะทางคณิตศาสตร์ได้
- จากงานวิจัยของเพื่อน ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติม ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ซึ่งสามารถเป็นความรู้พื้นฐานในการนำไปปรับเปลี่ยน ประยุกต์ใช้ในการสอนให้ดีขึ้นได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
- อาจารย์ให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษานำเสนอในสิ่งที่ตนเองเตรียมมา หรือตนเองมีความเข้าใจอย่างนั้นก่อน แล้วอาจารย์ก็จะให้คำแนะนำเพิ่มเติม ติชมว่าสิ่งใดถูกต้องแล้ว สิ่งใดต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดี ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยการสอดแทรกแนวคิดใหม่ ๆ ที่แตกแขนงออกไปจากเดิม หรือการยกตัวอย่าง เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจยิ่งขึ้น แล้วนำไปคิดต่อยอด เพื่อพัฒนาผลงานให้ดีกว่าเดิม
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : อาจจะมีเล่นบ้าง แต่เมื่อเพื่อนนำเสนอแนวคิดต่าง ๆ อาจารย์ให้คำแนะนำก็จะตั้งใจฟัง จดบันทึกสาระสำคัญไว้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนองานมาดี ได้เห็นความแปลกใหม่ของแต่ละกลุ่ม เห็นความรู้ความสามารถในการแต่งนิทาน และการบูรณาการคณิตศาสตร์ของเพื่อน ๆ
ประเมินอาจารย์ : ชอบเวลาอาจารย์ยิ้ม หัวเราะ ให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษา ซึ่งต่อให้เนื้อหาอาจจะยากบ้าง บรรยากาศของการเรียนก็จะไม่เครียด เพราะอาจารย์มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาตลอดเวลา ให้คำปรึกษา คำแนะนำในสิ่งที่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น