วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 08.30-12.30 น. 
(เรียนชดเชย)
บรรยากาศในการเรียน
          วันนี้ เป็นการเรียนชดเชย อาจารย์จึงนัดมาเรียนที่ตึกคณะใหม่ (ตึก 4) บรรยากาศในการเรียนก็เป็นกันเอง ใกล้ชิดกัน แบบสบาย ๆ นั่งเป็นกลุ่มย่อย มีการปรึกษาการทำงานในกลุ่ม และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา รวบรวมแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละคนในกลุ่ม และนำข้อแนะนำของอาจารย์มาประยุกต์เพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานที่อาจารย์มอบหมายในวันนี้






ความรู้ที่ได้รับ
  • การเลือกเรื่องในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก ควรเป็นเรื่องที่ ใกล้ตัว และมีผลกระทบต่อเด็ก
  • เราจะทราบว่า เด็กเกิดการเรียนรู้ ได้จากวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้ (เด็กได้อะไรบ้าง ทำอะไรได้บ้าง เป็นต้น) 
  • แนวคิด สังกัป มโนทัศน์ Concept เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกัน
  • การเขียนแนวคิดในแผนการจัดประสบการณ์นั้น จะต้องครอบคลุมหัวข้อเรื่อง เช่น เรื่องผลไม้ แนวคิดคือ ผลไม้ เป็นธรรมชาติรอบตัว ซึ่งจัดอยู่ในสิ่งมีชีวิตประเภทพืช อาศัยการเจริญเติบโต มีชื่อเรียกที่หลากหลาย มีลักษณะส่วนประกอบที่คล้ายหรือแตกต่างกันได้ โดยอาจจะจะมีทั้งประโยชน์และข้อควรระวัง เป็นต้น
  • แผนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ถ้าครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน จะดีมาก เช่น 
  • ด้านร่างกาย = พัฒนากล้ามเนื้อ/การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ด้านอารมณ์-จิตใจ = การแสดงออก การรับรู้ความรู้สึก
  • ด้านสังคม = การมีปฏิสัมพันธ์ รู้จักช่วยเหลือตัวเอง
  • ด้านสติปัญญา = ภาษา การแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์เชิงเหตุผล คิดสร้างสรรค์ การสังเกต
  • การเขียนแผนกิจกรรม จะต้องเขียนในส่วนที่เราสอนจริง ๆ 
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการจัดประสบการณ์
  • ทักษะการเขียนแผน
  • ทักษะการคิดแบบมโนทัศน์ คิดเป็นระบบ
  • ทักษะการแก้ปัญหาในการทำงาน
  • ทักษะการนำเสนอข้อมูล
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • การได้รับความรู้ และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์ในการเขียนแผนนั้น สามารถทำให้การเขียนแผนในครั้งต่อไป พัฒนามากยิ่งขึ้น
  • เมื่อแผนการจัดกิจกรรมมีความสมบูรณ์ เหมาะสม การนำไปใช้กับเด็ก ก็จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
เทคนิคการสอนของอาจารย์

  • อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษานำเสนอในสิ่งที่ตนเองมีความเข้าใจอย่างนั้นก่อน แล้วอาจารย์ก็จะให้คำแนะนำเพิ่มเติม ติชมว่าสิ่งใดถูกต้องแล้ว สิ่งใดต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดี ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยการสอดแทรกแนวคิดใหม่ ๆ ที่แตกแขนงออกไปจากเดิม หรือการยกตัวอย่าง เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจยิ่งขึ้น แล้วนำไปคิดต่อยอด เพื่อพัฒนาผลงานให้ดีกว่าเดิม
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : มีความเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจาย์และเพื่อนได้ ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงาน มีความรับผิดชอบ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใจดี ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา แนะนำแนวคิดดี ๆ และแปลกใหม่เป็นแนวทางให้นักศึกษานำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน



วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพุธที่ 20 เมษายน 2559 เวลา 08.30-12.30 น.

บรรยากาศในการเรียน
           วันนี้อาจารย์ให้ส่งโครงร่างนิทาน Big Book ที่เกี่ยวกับหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับ เมื่อแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแนวคิด หรือเนื้อเรื่องของนิทานที่มีการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ร่วมด้วยแล้วนั้น อาจารย์ก็จะให้คำแนะนำเพิ่มเติม ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และก็เป็นการนำเสนองานวิจัยของเพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอ และอาจารย์ก็มอบหมายงานให้ทำนิทาน โดยให้ร่างรูปภาพเป็นการใช้เส้นระบาย แทนการระบายสี และนำมาส่งในคาบเรียนต่อไป

นิทานเรื่อง กล้วยน้อยช่างคิด

นิทานเรื่อง หนูจินสอนเพื่อน

นิทานเรื่อง ประโยชน์ของผลไม้

นิทานเรื่อง หมีน้อยกับรถคู่ใจ

  • นางสาวยุคลธร ศรียะลา นำเสนองานวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 
  • ผู้วิจัย คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว




ความรู้ที่ได้รับ
  • นิทานควรมีตัวละครที่ดำเนินเรื่อง และมีการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์เข้าไปในเนื้อเรื่องอย่างเหมาะสม ให้สอดคล้องกับสิ่งที่เรากำลังนำเสนอผ่านการเล่านิทาน
  • ตัวหนังสือ หรือรูปภาพที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เราอาจจะเน้นคำ เน้นสี ให้แปลกไปจากเดิม เพื่อให้เกิดความแตกต่าง และสามารถทำให้เด็กเรียนรู้ และจดจำได้ง่ายขึ้น
  • การแต่งนิทานโดยใช้คำคล้องจอง จะทำให้นิทานมีความน่าสนใจมากกว่าการเล่าเรื่องธรรมดา
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง (การแต่งคำคล้องจอง การเล่านิทาน การนำเสนองาน)
  • ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
  • ทักษะการคิดแก้ปัญหา และการคิดเชื่อมโยง บูรณาการ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถแต่งนิทานจากหน่วยที่จะสอนได้ และนำวิชาคณิตศาสตร์มาบูรณาการในเนื้อเรื่องของนิทานได้ เพื่อให้เด็กได้ทั้งความเพลิดเพลิน ความรู้เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ และได้ทักษะทางคณิตศาสตร์
  • การได้แลกเปลี่ยนแนวคิด หรือผลงานจากเพื่อนหลาย ๆ กลุ่ม ทำให้ได้แนวคิดที่แปลกใหม่ หลากหลาย ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต โดยการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หรืออาจจะเป็นกิจกรรมอื่น ๆ ที่เราสามารถเชื่อมโยงทักษะทางคณิตศาสตร์ได้
  • จากงานวิจัยของเพื่อน ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติม ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ซึ่งสามารถเป็นความรู้พื้นฐานในการนำไปปรับเปลี่ยน ประยุกต์ใช้ในการสอนให้ดีขึ้นได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์ให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษานำเสนอในสิ่งที่ตนเองเตรียมมา หรือตนเองมีความเข้าใจอย่างนั้นก่อน แล้วอาจารย์ก็จะให้คำแนะนำเพิ่มเติม ติชมว่าสิ่งใดถูกต้องแล้ว สิ่งใดต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดี ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยการสอดแทรกแนวคิดใหม่ ๆ ที่แตกแขนงออกไปจากเดิม หรือการยกตัวอย่าง เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจยิ่งขึ้น แล้วนำไปคิดต่อยอด เพื่อพัฒนาผลงานให้ดีกว่าเดิม
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : อาจจะมีเล่นบ้าง แต่เมื่อเพื่อนนำเสนอแนวคิดต่าง ๆ อาจารย์ให้คำแนะนำก็จะตั้งใจฟัง จดบันทึกสาระสำคัญไว้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนองานมาดี ได้เห็นความแปลกใหม่ของแต่ละกลุ่ม เห็นความรู้ความสามารถในการแต่งนิทาน และการบูรณาการคณิตศาสตร์ของเพื่อน ๆ
ประเมินอาจารย์ : ชอบเวลาอาจารย์ยิ้ม หัวเราะ ให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษา ซึ่งต่อให้เนื้อหาอาจจะยากบ้าง บรรยากาศของการเรียนก็จะไม่เครียด เพราะอาจารย์มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาตลอดเวลา ให้คำปรึกษา คำแนะนำในสิ่งที่ดี

       

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 08.30-12.30 น.


บรรยากาศในการเรียน
          วันนี้ เป็นการนำเสนอวิจัยของเพื่อน ที่ยังไม่ได้นำเสนอ
  • นายอารักษ์ ศักดิกุล นำเสนอวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิจัยเพิ่มเติม เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ 
        การวิจัยครั้งนี้ เปนการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของ เด็กปฐมวัยกอนและหลังการทํากิจกรรมศิลปสรางสรรควยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเปนประโยชน และเปน แนวทางสําหรับครู ผูปกครอง และผูที่เกี่ยวของกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะชวยสงเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรแกเด็กปฐมวัยไดอยางเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้
 ความมุงหมายของการวิจัย
       เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัย กอนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปสรางสรรควยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่
กลุมตัวอยาง  
       กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ เปนเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ซึ่งกําลัง ศึกษาอยูในชั้นอนุบาลปที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2การศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุกไก  สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  จํานวน  20 คน
       กิจกรรมศิลปสรางสรรควยขนมอบเปนกิจกรรมที่ใชขนมอบประเภทตางๆ ในการทํากิจกรรม เชน ขนมปง คุกกี้ เคก ฯลฯ ซึ่งในการทํากิจกรรมเด็กสามารถเลือกทําไดตามความสามารถ และ ความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค เพื่อใหเด็กไดเกิดการเรียนรู จากการใชประสาทสัมผัสในการทํากิจกรรม ศิลปะสรางสรรควยขนมอบ ทั้งนี้ยังฝกฝนเรื่องการสังเกตและการจําแนก การเปรียบเทียบ การจัด หมวดหมู ซึ่งผูวิจัยสรางขึ้นโดยยึดหลักของการทํากิจกรรมศิลปสรางสรรค ตามคูมือหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรค ตลอดจนการยึด ตามความเหมาะสมสอดคลองกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเปนหลัก

แผนการสอน
ชื่อกิจกรรม  ขนมปงแผนแตงหนา 

จุดประสงค
1. เพื่อใหนักเรียนไดพัฒนาการใชกลามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธระหวางมือกับตา 
2. เพื่อใหนักเรียนไดกการรับรูประสาทสัมผัส 
3. เพื่อใหนักเรียนไดรูจักสีแดง  สีขาว  สีเขียว  สีชมพู 
4. เพื่อใหนักเรียนไดกทักษะการสังเกตและการจําแนก  เปรียบเทียบ  จัดหมวดหมู 
5. เพื่อใหนักเรียนไดงเสริมการแสดงออก 
6. เพื่อใหนักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
เนื้อหา    ขนมปงแผนแตงหน
กิจกรรมการเรียนรู 
ขั้นนํา  (กระตุ้นเด็ก)
1. นักเรียนและครูสนทนารวมกันคิดหาคําตอบจากปริศนาคําทาย อะไรเอย เปนแผน  สีขาว  นิยมทานคูกับแยม   
2. นักเรียนและครูสนทนารวมกัน  ดังนี้    
     2.1 ขนมปงมีลักษณะอยางไร  มีสีอะไร    
     2.2 ขนมปงมีสีอะไร  รสชาติเปนอยางไร  มีใครเคยทานบาง    
     2.3 นักเรียนคิดวาขนมปงทํามาจากอะไร    
     2.4 นักเรียนคิดวาขนมปงมีประโยชนไหม  และมีประโยชนอยางไร 
ขั้นสอน  
1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณตามความสนใจของตนเอง 
2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจ โดยการนําขนมปงแผนรูปทรงตางๆ แยมผลไม  เกล็ด ช็อกโกแลต มาโรยหนา ทา วาด เขียน เพื่อสรางชิ้นงานตามความคิดและจินตนาการของตนเอง  
3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแลวใหนําชิ้นงานวางบนถาดรองไปจัดรวมกันไวที่หนาชั้นเรียน  
4. เด็กชวยกันเก็บของ  ทําความสะอาดใหเรียบรอย
ขั้นสรุป  
1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนารวมกับครู  ดังนี้   
     1.1 นักเรียนใชขนมปงรูปทรงใดบางมาทํากิจกรรม   
     1.2 ในชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรที่เหมือนกัน  และอะไรที่ตางกัน  ตางกันอยางไร   
     1.3 ขนมปงของนักเรียนมีอะไรซอนอยูางใน   
     1.4 นักเรียนคิดวาระหวางแยมผลไม กับเกล็ดช็อกโกแลต และขนมปง ตางกันหรือ เหมือนกันอยางไรบาง  
สื่อการเรียน 
1. ขนมปงแผนรูป 
2. แยมผลไมบรรจุในถุง 3สี  คือ  แยมสม  แยมสตอเบอรี่  แยมบลูเบอรรี่  แยมสัปปะรด
3. เกล็ดช็อกโกแลต 
4. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน 
5. าพลาสติกปูโตะ 
6. ถาดสําหรับใสขนม 
การประเมินผล 
1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา 
2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม  

          จากนั้น แต่ละกลุ่มก็ออกมานำเสนอการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับหน่วย ยานพาหนะ ผลไม้ กล้วย และของเล่น ของใช้
  • กลุ่มแรก นำเสนอหน่วย ยานพาหนะ (ประเภทของยานพาหนะ ทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ)


โดยมีการนำคณิตศาสตร์มาบูรณาการ คือ 
การนับจำนวนยานพาหนะ การเปรียบเทียบมากที่สุด หรือน้อยที่สุด

  •    กลุ่มที่ 2 นำเสนอหน่วย ผลไม้ (กลุ่มดิฉันเองค่ะ)

ให้เด็กได้สังเกต ชิมรสชาติของมะยงชิด และองุ่น
ถามและแลกเปลี่ยนว่ามีลักษณะอย่างไร มีรสชาติอย่างไร
  • กลุ่มที่ 3 นำเสนอหน่วย กล้วย

  • กลุ่มที่ 4 นำเสนอหน่วย ของเล่น ของใช้

     หลังจากที่แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ แผนการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ แล้ว อาจารย์ก็จะแนะนำ ติชมว่าควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร



ความรู้ที่ได้รับ
  • จากการนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ของกลุ่มดิฉัน หน่วยผลไม้ ได้ความรู้และคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
          -  ผลไม้ต้องใกล้ตัวเด็ก หรือถ้าเป็นผลไม้ที่แปลกใหม่อาจจะทำเป็นภาพจิ๊กซอว์
          -  ถามคำถามเด็กแล้ว บันทึกลงกระดาษทันที โดยคำที่เขียนลงไปควรมีรูปภาพให้เด็กได้เรียนรู้ ถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบภาษาธรรมชาติ
          -  สามารถสอนขนาดที่แตกต่างกัน โดยการเปรียบเทียบได้
          -  ให้เด็กดูส่วนประกอบภายนอกก่อน จากนั้นก็บันทึกข้อมูล แล้วให้เด็กชิมรสชาติ สังเกตส่วนประกอบภายใน ถามรสชาติ เช่น เปรี้ยว หวาน หรือหวานอมเปรี้ยว
  • เมื่อสอนขั้นนำ เช่น ใช้เพลง คำคล้องจอง นิทาน ปริศนาคำทาย เป็นต้น หลังจากนั้น จะต้องทบทวน ถามเด็กจากที่สอนไป แล้วถามประสบการณ์เดิม หรือสิ่งที่ได้พบเห็นนอกจากนั้น
  • กำหนดหัวข้อที่จะถามเด็กให้ชัดเจน
  • บางตัวอย่างที่ใช้ในการสอน ถ้าไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง ๆ ครูอาจจะนำตัวอย่างมาให้เด็กดูได้
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการสอนเด็กปฐมวัย
  • ทักษะการจัดกิจกรรมจากแผนประสบการณ์
  • ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
  • ทักษะการคิดเชื่อมโยง การบูรณาการวิชาการมาใช้ในกิจกรรม
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • นำความรู้ในการจัดกิจกรรมที่ได้จากเพื่อน ๆ และคำแนะนำจากอาจารย์มาใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยในอนาคตได้
  • เมื่อมีข้อมูลความรู้ และได้ปฏิบัติจริง ทำให้ได้เห็นข้อดีของแต่ละกลุ่ม และได้รู้ข้อเสียที่ควรปรับปรุง ก็จะทำให้เกิดทักษะ การจัดประสบการณ์ในครั้งต่อไป ก็จะถูกต้องมากยิ่งขึ้น
เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์จะให้นักศึกษามานำเสนอก่อน จากนั้นจึงจะให้คำแนะนำ ติชม ให้แนวทางในการนำเสนอที่ถูกต้อง รวมถึงแนวทางในการเขียนแผน การปฏิบัติตามแผนที่เหมาะสมและสามารถบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ลืมอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในการนำเสนอ แต่ก็ช่วยกันหาวิธีแก้ไข และช่วยเหลือกิจกรรมเพื่อนอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีกิจกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ น่าเรียน มีแนวความคิดที่แปลกใหม่
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมดี แต่บางอย่างต้องปฏิบัติจริง จึงจะเข้าใจและรู้จุดบกพร่องที่ต้องนำมาแก้ไข

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วันพุธที่ 23 มีนาคม 2559 เวลา 08.30-12.30 น.


บรรยากาศในการเรียน
          เมื่อเริ่มเรียน อาจารย์ก็ให้เพื่อน ๆ ออกมานำเสนองาน
  • นางสาวสุดารัตน์ อาจจุฬา นำเสนอบทความ
บทความ เรื่อง การเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์
บรรยายโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
เมื่อพูดถึงคณิตศาสตร์ ผู้ใหญ่บางคนได้ฟัง ยังหนาวๆ ร้อนๆ แล้วสำหรับเด็กเล็กๆ


-การเรียนรู้เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเขาหรือไม่? คำตอบของคำถามข้างต้นนั้นคือ "ไม่ยากหรอกค่ะ" ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากสิ่งรอบตัวเด็กนี่เอง...
- ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ? ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึง เรื่องอะไรบ้าง   เริ่มได้เมื่อไหร่ดี .... การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไปเราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะสำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่า เจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
     คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น
-การตื่นนอน (เรื่องของเวลา)
-การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า)
- การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ)
- การเดินทาง(เวลา ตัว เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง)
- การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ
เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มี อยู่จริงในชีวิตประจำวัน   กิจกรรมใด ๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทียบ หรือ   เรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัด กิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาส ให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและ   ผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัวการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร  การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 7 ด้าน ดังนี้

ความรู้เพิ่มเติม
ทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นครูหรือผู้เกี่ยวข้องควรทราบว่ามีทักษะจำเป็นอะไรบ้างที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กต่อไป   ทักษะที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนานั้นอาจแบ่งเป็น ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณ

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่

      1. ทักษะการสังเกต(Observation)
                   คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป

      2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)
                   คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้(ดังนั้นครุควรถามเมื่อจัดกิจกรรมทั้งนี้เพื่อให้ประเมินเด็กได้อย่างถูกต้อง) ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง เมื่อเด็กสามารถสร้างความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความสัมพันธ์แล้วเด็กจึงจะจำแนกโดยใช้ความสัมพันธ์ร่วมได้

      3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)
                   คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง นั่นแสดงให้เห็นว่า เด็กเห็นความสัมพันธ์ของลูกบอล คือ เล็ก - ใหญ่ ความสำคัญในการเปรียบเทียบ คือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์  การเปรียบเทียบนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนในเรื่องการวัดและการจัดลำดับ

      4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)
                   คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม การจัดลำดับในครั้งแรก ๆ ของเด็กปฐมวัยจะเป็นไปในลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง เมื่อเกิดการพัฒนาจนเกิความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเด็กจึงจะสามารถจัดลำดับที่ยากยิ่งขึ้นได้

      5. ทักษะการวัด(Measurement)
                   เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม

      6. ทักษะการนับ(Counting)
                   แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน  การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การนับจำนวนเพื่อนในห้องเรียน นับขนมที่อยู่ในมือ แต่การนับของเด็กอาจสับสนได้หากมีการจัดเรียงสิ่งของเสียใหม่ เมื่อเด็กเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์(จำนวน)แล้วเด็กปฐมวัยจึงจะสามารถเข้าใจเรื่องการนับจำนวนอย่างมีความหมาย

    7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
                   เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน  เราจึงมักจะได้ยินเด็กพูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรูปทรงหรือขนาดอยู่เสมอ  ครูสามารถทดสอบว่าเด็กรู้จักรูปทรงหรือไม่ได้โดยการให้เด็กหยิบ/เลือก สิ่งของตามคำบอก เมื่อเด็กรูปจักรูปทรงพื้นฐานแล้วครูสามารถสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงที่ยากขึ้นได้

ทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ สำหรับเด็กปฐมวัยอาจแบ่งได้ 3 ทักษะ
        1. ทักษะในการจัดหมู่
        2. ทักษะในการรวมหมู่(การเพิ่ม)
        3. ทักษะในการแยกหมู่(การลด)
  • นางสาวชื่นนภา เพิ่มพูล นำเสนอบทความ

บทความเรื่อง คณิตศาสตร์กับชีวิต


           “จุดมุ่งหมายของการศึกษาในอดีตจะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนการสอนในช่วงต้นรัตนโกสินทร์คือระหว่างปี พ.ศ. 2325-2426 นั้นประเทศไทยยังไม่มีโรงเรียน แต่มีการเรียนกันที่วัดหรือที่บ้าน ความมุ่งหมายในสมัยนั้นคือ การให้สามารถ อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขได้ นอกจากนั้นอาจมีการเรียนช่างฝีมือกันที่บ้าน...” (ทิศนา แขมณี: ศาสตร์การสอน; 29)
                จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ และถ้าจะค้นหาลึกลงไปนั้นในสมัยโบราณก็คงจะมีการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในสังคมให้ความสำคัญกับการคำนวณ การเปรียบเทียบด้วยตัวเลข เปรียบเสมือนกับเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของบุคคลต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดของสังคม หรือต่างชนชาติกันก็ตาม คณิตศาสตร์ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสากล ได้แก่การบวก ลบ คูณ หาร และในความเชื่อที่ว่าคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีรูปแบบและขั้นตอนมาตรฐาน ดังนี้คือ
(1)หาสิ่งที่ต้องการทราบ
(2)ว่างแผนการแก้ปัญหา
(3)ค้นหาคำตอบ
(4)ตรวจสอบ
               จากขั้นตอนทางคณิตศาสตร์นี้เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ เพื่อให้เกิดลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น เปรียบเสมือนการแก้ปัญหาสิ่งๆหนึ่งโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อหาข้อค้นพบและสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้อย่างมีระบบ ระเบียบ
                จะเห็นได้ว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมให้เกิดการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานในการหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดชิ้นงานต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อสิ่งที่บุคลต้องการให้เป็นไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นจากข้อความข้างต้นจะเสนอความสอดคล้องของคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันได้อย่างไรดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
                การซื้อขายของ เป็นการใช้หลักคณิตศาสตร์พื้นฐานได้แก่ การคำนวณในเรื่องของต้นทุน และการได้กำไร การกำหนดราคาเพื่อการตีค่าของราคาที่จะขายเพื่อให้เกิดกำไร ซึ่งเกี่ยวข้องหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นในการดำเนินการซื้อขาย  นอกจากนนี้ยังมีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งก็ไม่พ้นในเรื่องของการใช้หลักคณิตศาสตร์ในการควบคุมการทำงาน
                การสร้างที่อยู่อาศัย เป็นการคำนวณอัตราส่วนของพื้นที่ในการการปลูกสิ่งปลูกสร้าง ในที่นี้ขอยกตังอย่างการสร้างที่อยู่อาศัย เริ่มตั้งแต่การคำนวณหาพื้นที่ในการสร้าง โดยหลักการวัดพื้นที่ (กว้าง x ยาว) จากนั้นต้องมี่การคำนวณโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างต่างๆได้แก่ ปูน หิน ทราย ไม้กระเบื้องและอื่นๆที่เป็นสวนประกอบของการสร้างที่อยู่อาศัย โดยการผสมปูน ได้แก่การคำนวณอัตราส่วนของส่วนผสมในการสร้างบ้าน ซึ่งแตกต่างกันในการใช้งานเช่น พื้นปูนอาจมีการผสมให้มีความหยาบเพื่อใช้เป็นฐานของโครงบ้าน การฉาบอิฐจะต้องมีการละเอียดของปูนเพื่อให้เกิดการยึดแน่นของอิฐกับปูนเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม เป็นต้น
                การเงินการธนาคาร เป็นการออมทรัพย์เพื่อให้เกิดความความมั่นของชีวิต มีการคำนวณดอกเบี้ย ผลกำไร การปันผล การแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน โดยมีวิธีจูงใจผู้ฝากในรูปแบบต่างๆเช่น การออมทรัพย์ กระแสรายวัน ฝากประจำ ซึ่งมีการให้ดอกเบี้ยแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละธนาคารว่าจะให้ผลประโยชน์กับผู้ฝากอย่างไรและผู้ฝากเป็นผู้ตัดสินใจในการใช้บริการทางการเงินกับธนาคารใด
                 ทางการศึกษา เป็นการคำนวณหาค่าต่างๆทีเกี่ยวข้องกับการให้คะแนน วิจัย การทดลองโดยใช้ค่าทางสถิติเพื่อให้เกิดข้อค้นพบต่างๆในเชิงปริมาณเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น


          จากนั้น อาจารย์ก็สรุปเนื้อหาความรู้ จากการนำเสนอของเพื่อน ๆ แต่ละคน เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมที่นำสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อภิปรายเกี่ยวกับแผนการจัดประสบการณ์ที่แต่ละคน แต่ละกลุ่มคิดมา โดยอาจารย์จะเป็นคนแนะนำแนวทางให้กิจกรรมเราสมบูรณ์มากขึ้น หน่วยการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม ได้แก่ เกี่ยวกับเรื่องกล้วย เรื่องยานพาหนะ เรื่องผลไม้ และเรื่องของเล่นของใช้

ความรู้ที่ได้รับ
  • การจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย ทำให้เด็กมีประสบการณ์ และมีวิธีการเชื่อมโยงการเรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้น
  • การจัดประสบการณ์ ในแต่ละหน่วย จัดดังนี้ 
  1. วันแรก = ชนิด/ประเภท
  2. วันที่ 2 = ลักษณะ ส่งเสริมทักษะการสังเกต รูป รส กลิ่น สี เป็นต้น
  3. วันที่ 3 = การดูแลรักษา/การเก็บรักษา (หากจัดเกี่ยวกับ ต้นไม้ ก็จะใช้คำว่า การดำรงชีวิต)
  4. วันที่ 4 = ประโยชน์
  5. วันที่ 5 = ข้อควรระวังหรือโทษ
  • การสอนคณิตศาสตร์ จะต้องสอนทีละ 1 คอนเซ็ปต์ เช่น กำหนดให้เด็กหาผลไม้ที่มีสีเขียว ซึ่งจะง่ายสำหรับเด็ก ๆ ไม่ต้องเน้นรายละเอียดมาก
  • ขั้นนำของแผนการจัดกิจกรรม อาจจะเป็นเพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย นิทาน เป็นต้น
  • การใช้คำ = 2 กลุ่ม/ประเภท ใช้คำจำกัดความว่า มากกว่า น้อยกว่า แต่ถ้ามากกว่า 2 กลุ่ม ให้ใช้คำว่า มากที่สุด หรือน้อยที่สุด
  • หลังจากอภิปราย ควรทำตาราง เขียนแยกแยะ เปรียบเทียบแค่ 2 อย่าง (สำหรับเด็ก) โดยอาจจะทำเป็นเวนน์ไดอะแกรม
ตัวอย่าง เวนน์ไดอะแกรม = เป็นการเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการมีบุคลิกภาพที่ดี และการพูดนำเสนอผลงาน
  • ทักษะการคิดแบบรวบยอด
  • ทักษะการใช้เวนน์ไดอะแกรมในการทำงาน
  • ทักษะการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรือการสื่อสาร
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • นำความรู้ที่ได้จากอาจารย์ แนวคิดจากเพื่อน ๆ ในการจัดกิจกรรม มาปรับเปลี่ยนกับกิจกรรมของเราได้ เพื่อทุ่นเวลา และทำให้เด็กได้ประสบการณ์จากกิจกรรมที่หลากหลาย
  • ดึงประสบการณ์เดิม เข้ามามีส่วนในการจัดกิจกรรม จะทำให้เด็กมีความรู้ที่เพิ่มพูนจากเดิม และเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ๆ ได้
  • เมื่อมีความรู้ จากการแลกเปลี่ยนกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ทำให้สามารถนำความรู้มาฝึกปฏิบัติ และทำให้เกิดทักษะ ความชำนาญ ในการนำไปสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์จะให้นักศึกษานำเสนอความคิด หรือความรู้ที่นักศึกษามี แล้วแลกเปลี่ยนกัน ส่วนใดดีแล้ว อาจารย์ก็จะอธิบายเพิ่มเติม ส่วนใดควรแก้ไข อาจารย์ก็จะให้แนวทางใหม่ ๆ โดยการตั้งคำถามให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการตอบ ว่าควรเป็นอย่างไร แบบใดดีกว่ากัน เป็นต้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : อาจจะเล่นบ้าง แต่ก็ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยกันระดมความคิดภายในกลุ่ม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ มีแนวความคิดที่หลากหลาย แปลกใหม่มาแลกเปลี่ยนกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมจากที่นักศึกษาเคยเข้าใจ ให้มีความถูกต้องมากขึ้น บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจมากนัก แต่ถ้าได้ลงมือทำกิจกรรมจริง ๆ ก็เชื่อว่า จะกระจ่างในสิ่งที่อาจารย์สอนและแนะนำ
 


วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพุธที่ 16 มีนาคม 2559 เวลา 08.30-12.30 น.
บรรยากาศในการเรียน
          เนื่องจากวันนี้ อาจารย์ยุ่งกับการขนของเพื่อย้ายตึกเรียนใหม่ โดยตึกคณะศึกษาศาสตร์เดิม จะทุบเพื่อสร้างใหม่ จึงมีเวลาเรียนไม่เต็มคาบเรียน แต่อาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคน นำงานที่แต่ละกลุ่มได้ทำมา ซึ่งเป็น Mind Mapping เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ที่แต่ละกลุ่มจัดทำขึ้น



          กลุ่มของดิฉันทำเกี่ยวกับหน่วย ผลไม้ ซึ่งอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ ข้อควรปรับปรุงในการทำ Mind Mapping การสรุปองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้ครอบคลุมเนื้อหา เมื่อแนะนำครบทุกกลุ่ม อาจารย์ก็มอบหมายงาน ให้สมาชิกแต่ละกลุ่ม เขียนแผนการจัดประสบการณ์คนละ 1 แผน ตามหัวข้อ ขอบเขตของเรื่อง ผลไม้ โดยให้มีการนำคณิตศาสตร์มาบูรณาการในการเขียนแผนด้วย เขียนอธิบายว่าจะมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมอย่างไร และนำมาส่งอาจารย์ในชั่วโมงถัดไป

ความรู้ที่ได้รับ
  • ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดทำ Mind Mapping ที่ถูกต้อง ซึ่งควรแตกออกเป็นเส้น ๆ ดังกล่าว คล้ายเส้นใยสมองของคน มีลักษณะหัวข้อที่ชัดเจน ทำความเข้าใจได้ง่าย มีความละเอียด ครอบคลุม
  • ได้ความรู้ว่า ทุกแผนหรือทุกหน่วยการเรียนรู้ สามารถสอดแทรก บูรณาการคณิตศาสตร์ในการเรียนการสอนได้เสมอ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และคิดว่าคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่ไม่ยาก อยู่รอบ ๆ ตัว อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการคิดรวบยอด (Mind Mapping)
  • ทักษะการคิดโดยเชื่อมโยง การบูรณาการให้เข้ากับหน่วยการเรียนรู้
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อเกิดทักษะการคิดรวบยอด การคิดเชื่อมโยงบูรณาการ จึงทำให้สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้ครอบคลุมในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ และสามารถนำไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์จะแนะนำเพิ่มเติมจากผลงานที่นักศึกษาทำมา ว่าถูกต้องหรือไม่ ควรปรับปรุงแก้ไขในส่วนใด เพื่อจะได้ให้นักศึกษานำไปแก้ไข และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย และพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน และนำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
ประเมินเพื่อน : ในการทำงานกลุ่ม เพื่อน ๆ จะให้ความร่วมมือกัน ใครถนัดด้านใด ก็ช่วยเหลือ รับผิดชอบในด้านนั้น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความรับผิดชอบในการสอน ถึงแม้ว่าจะยุ่งงาน แต่ก็ยังเจียดเวลาเพื่อมาแนะนำงานของนักศึกษา เพื่อให้ทำงานได้ถูกต้อง 



วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพุธที่ 9 มีนาคม 2559 เวลา 08.30-12.30 น.
บรรยากาศในการเรียน
          วันนี้ อาจารย์เริ่มเข้าสู่การเรียน โดยการทบทวนความรู้ การศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ ว่าการเรียนการสอนที่นั่นเป็นอย่างไร จัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างไร และอาจารย์ก็แนะนำ เชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ให้บูรณาการกับกิจกรรมอย่างอื่นได้ เช่น 
  • กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบผู้นำ-ผู้ตาม แตะไหล่ ยกขึ้น กางแขน แตะไหล่ ยกขึ้น กางแขน... เมื่อทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จะทำให้เด็กเรียนรู้เองว่า ต่อไปจะเป็นท่าอะไร ต้องทำท่าอย่างไร ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์/พีชคณิต ในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • การนับเลข 5 3 1 , 3 5 7  จะเห็นว่า เลขชุดแรกมีการลดจำนวนลงทีละ 2 และเลขชุดที่ 2 มีการเพิ่มจำนวนขึ้นทีละ 2 เป็นต้น
          จากนั้น ก็เป็นการนำเสนองานของเพื่อน ๆ และทำมายแม็ปลงในกระดาษที่อาจารย์แจกให้คนละแผ่น เกี่ยวกับการกำหนดหน่วยการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเราจะตั้งชื่อหน่วยอะไรก็ได้ที่เห็นว่าเป็นที่น่าสนใจ เด็กอยากจะเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แล้วโยงหัวข้อย่อย ขอบเขตของเรื่องออกมาให้ชัดเจน หน่วยที่ตั้งนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว หรือมีผลกระทบกับเด็ก จาก 4 ข้อดังนี้
  1. เรื่องเกี่ยวกับตัวเด็ก
  2. สิ่งต่าง ๆ รอบตัว
  3. บุคคลและสถานที่
  4. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก 


          เมื่อทุกคนทำเสร็จแล้ว อาจารย์ก็จะนำมาแนะนำ อภิปรายว่าเหมาะสมหรือยัง ควรปรับปรุงแก้ไขส่วนใดให้ถูกต้องยิ่งขึ้น แล้วก็มอบหมายให้ทำงานเป็นกลุ่ม นำเสนอสัปดาห์ถัดไป



ความรู้ที่ได้รับ

  • การสอนต้องเหมาะสมกับพัฒนาการ และการจัดประสบการณ์ต้องเหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
  • การเปรียบเทียบการวัดจากสายวัด สามารถใช้เชือกแทนได้
  • รูป 3 มิติหรือของจริง เหมาะสำหรับเด็กเล็ก ส่วนรูปมิติเดียว เหมาะสำหรับเด็กที่โตขึ้น
  • 1 โครงการสามารถบูรณาการได้ทั้ง 6 สาระการเรียนรู้
  • การแตกกระจายของมายแม็ปปิ้ง จะสอนให้เด็กได้แนวความคิดรวบยอด หรือเรียนรู้การคิดแบบมีคอนเซ็ป
  • การนำเสนอของเพื่อน 
  • นางสาวภทรธร  รัชนิพนธ์  นำเสนอวีดีโอ

วิดีโอโทรทัศน์ครู
คณิตศาสตร์ (ตัวเลข) สำหรับเด็กปฐมวัย
         
สรุป - กล่าวถึงครูที่อยู่โรงเรียนประถมเกรตบาร์  ในเบอร์มิงแฮมว่ามีวิธีการรับมืออย่างไรในการสังเกตการณ์เด็ก ๆ และจะวางแผนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นอนุบาลรวมไปถึงประถมอย่างไร

     ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกสนานและเป็น­ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรตบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็ก ๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย
     ซึ่งครูจะหยิบตัวเลข 6 แล้วบอกว่าตัวนี้เลข 4 ใช่ไหม ลองเชิงเด็กๆว่าสนใจอยู่ไหม เด็กๆก็จะบอกว่านั้นไม่ใช่เลข 6 แต่เป็นเลข 4 และครูก็ให้เด็ก ๆ ออกมาหยิบดูว่าเลข 6 ที่แท้จริงเป็นแบบไหน  ครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็ก ๆ ผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื่อวางแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็ก ๆ แล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนไปในทางดีด้วย

สิ่งสำคัญ : การสอนคณิตศาสตร์ เด็กเล็ก เกม กิจกรรมนอกห้องเรียน เรียนรู้ผ่านชีวิตประจำวัน เลขในชีวิตประจำวัน การสร้างแรงบันดาลใจ สื่อการสอน การวัดประเมิน การสังเกตการณ์ การทำงานเป็นทีม การประชุมครู การวางแผนการสอนร่วมกัน การแข่งขัน ความสนุกในการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสนุกกับตัวเลข การจัดลำดับ การจดจำตัวเลข การคำนวณ คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยการศึกษาแบบอิสระ การเรียนรู้อย่างอิสระ ความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครอง scaffolding การแนะแนวร่วมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์อีกด้วย

  • นางสาวจิราภรณ์  ฟักเขียว  นำเสนอวีดีโอ
สรุปวิดีโอโทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครู เรื่องไข่ดีมีประโยชน์

        โดยคุณครูรจนา สังวรสินธุ์ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ได้สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่ ชนิดของไข่ส่วนประกอบของไข่ ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยากให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับประทานไข่ แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้

กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น

กิจกรรมที่ 2 ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและได้รู้จักสัตว์เพิ่มมากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะเล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็กกล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานครูนำนิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดูเพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้นแตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย

กิจกรรมที่ 3 ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิทมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเด็กให้เด็กช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมดห้าตระกล้าเล็กๆ นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีกด้วยโดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมากน้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ฟองครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี 10 ฟอง ครูถามว่าใครในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง ละครูก็ถามว่าตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากันครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีเนื้อสีนำ้ตาลดำส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้า ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดงของไข่เป็ดเเละไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะสามารถตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่

กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกิ้งคือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆได้และเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกันทำคุกกิ้งเด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไปช่วยได้เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตาตายังไม่ประสานสัมพันธ์กันเด็กไม่สามารถก่ะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดีหลังจากนั้นให้เด็กลงมือตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by doingเด็กจะเกิดประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น
  • นางสาวสุวนันท์ สายสุด  นำเสนอวิจัย
สรุปวิจัย  (แก้ไข)
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

- ความมุ่งหมายของวิจัย
       เพื่อเปรี่ยบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

- สมมติฐานในการวิจัย
       เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

- ขอบเขตการวิจัย
        นักเรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง

- เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
         1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
         2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

- สรุปผลวิจัย
          เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น

- แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
หน่วย ต้นไม้  หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้
   มโนทัศน์  ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง
   จุดประสงค์
           สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้
  
กิจกรรมศิลปะ  ศิลปะค้นหา

กิจกรรมการเรียนการสอน
ขันนำ
1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
ขั้นสอน
3.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวนสนามเล่นในโรงเรียน บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
4.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่  ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด  ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
7.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบ
 สรุป
ให้เด็ก ๆ ถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้

สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)

ประเมิน
1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก
ทักษะที่ได้รับ 
  • ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการคิดโดยแตกแขนง (จากการทำมายแม็ปปิ้ง)

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น ทั้งจากการที่อาจารย์สอน แนะนำ และการไปศึกษาดูงาน การปฏิบัติจริง ทำให้มีแนวทางการสอนในอนาคต สามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลายมากขึ้น
  • การทำมายแม็ปปิ้ง จะทำให้เรารู้จักคิดอย่างมีเหตุผล ครอบคลุม ชัดเจน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนและการทำงานในอนาคตได้เช่นกัน

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน หากมีข้อควรเพิ่มเติม อาจารย์ก็จะอธิบาย ยกตัวอย่างให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาในการทำงานครั้งต่อไป

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์มอบหมาย มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์และเพื่อน ๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอมาดี เข้าใจง่าย และตั้งใจเรียน กล้าพูดกล้าแสดงออกในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใจดี และสอนอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ให้โอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ให้อิสระทางความคิด อำนวยความสะดวกเกี่ยวกับอุปกรณ์การทำงาน