วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธที่ 27 มกราคม 2559 เวลา 08.30-12.30 น.

บรรยากาศในการเรียน
       การเรียนในวันนี้ คล้าย ๆ กับการเรียนทุก ๆ ชั่วโมงที่ผ่านมา อาจารย์จะมีกิจกรรมให้ทำก่อนเริ่มเรียน

  • แจกกระดาษแข็งเล็ก ๆ แบบจับคู่ 1 ต่อ 1 แล้วให้เขียนชื่อจริงของแต่ละคนลงไป จากนั้นให้แต่ละคนนำกระดาษมาติดบนกระดานหน้าชั้นเรียนที่อาจารย์ตีตารางการมาเรียนไว้ให้ 
          จากกิจกรรมนี้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจว่า เราสามารถนำคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้หลากหลายกิจกรรม และเป็นสิ่งที่เด็กควรเรียนรู้ในการใช้ชีวิตประจำวันด้วย
          กิจกรรมต่อมาคือ การนำเสนอบทความ วีดีโอ และวิจัยของเพื่อน ๆ เมื่อเพื่อน ๆ แต่ละคนนำเสนอเสร็จ อาจารย์ก็จะอธิบายเพิ่มเติม ให้นักศึกษามีความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งได้เห็นมุมมองคณิตศาสตร์ที่หลากหลาย จากผลงานของเพื่อน ๆ แต่ละคน ที่มานำเสนอให้ฟัง ได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน
          หลังจากนั้น อาจารย์ก็พาร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีการนำคณิตศาสตร์มาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการร้องเพลงไปด้วย เช่น เพลงสวัสดียามเช้า (เรียนรู้เรื่องช่วงเวลา, การเรียงลำดับกิจวัตรประจำวัน), เพลงสวัสดีคุณครู, เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน, เพลงเข้าแถว, เพลงจัดแถว เป็นต้น

          ต่อมา อาจารย์จึงสอนส่วนที่เป็นเนื้อหา เป็นสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ สาระที่ 1 เรื่องจำนวน และสาระที่ 2 เรื่องการวัด
          ท้ายชั่วโมง อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอของเล่นที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย อาจารย์ก็จะให้คำแนะนำ แนวทางในการประดิษฐ์ของเล่น เพื่อให้คุ้มค่า และครอบคลุมมากที่สุด

ความรู้ที่ได้รับ
  • จากกิจกรรมการเขียนชื่อลงในกระดาษเพื่อให้เด็กนำไปติดที่ตารางการมาเรียนนั้น ทำให้ได้แนวทางการนำคณิตศาสตร์มาประยุกต์ในการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมง่าย ๆ ส่งเสริมให้เด็กมีความตรงต่อเวลา การเช็คมา-ไม่มาของสมาชิก ถือเป็นการให้เด็กฝึกการนับจำนวน และการที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ จะนำไปสู่การเกิดทักษะมากขึ้น
  • การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ไม่จำเป็นต้องสอนโดยตรง เช่น การบวก ก็สอนเด็กบวกเลข เป็นต้น ต้องมีวิธีการสอนที่หลากหลาย การเพิ่มขึ้นนั้นก็เป็นพื้นฐานของการบวก ให้เด็กได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม การลงมือปฏิบัติจะได้ผลดีมากกว่า
  • ครูสามารถกระตุ้นเด็กที่มาสายเป็นประจำ โดยการใส่ตัวเลขกำกับลำดับการมาก่อน-หลัง เพื่อให้เด็กได้มีความกระตือรือร้นในการมาเรียนมากขึ้น
  • ในเลข 1 จำนวน สามารถแบ่งได้หลายกลุ่ม เช่น 20 สามารถแบ่งได้ 15 กับ 5, 10 กับ 10, 18 กับ 2 เป็นต้น ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกัน ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น
  • การตั้งชื่อกลุ่มให้เด็กปฐมวัย จะต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน ในการที่จะนำคณิตศาสตร์มาบูรณาการ เช่น กลุ่มวงกลม กลุ่มสี่เหลี่ยม กลุ่มสามเหลี่ยม กลุ่มห้าเหลี่ยม เป็นต้น
สรุป บทความจากนางสาวเกตุวรินทร์ นามวา

เรื่อง: เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
ผศ.ดร.ชลาธิป สมาหิโต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  

การพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็ก จะเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดี 3 รูปแบบ ดังนี้
          1. เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์ เด็กวัยนี้จะนับเลข 1- 5 ได้ แต่ไม่รู้ถึงจำนวนค่าเท่าไรเด็กจะยังไม่เข้าใจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์ (ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้) แทนตัวเลข เพราะเด็กจะเข้าใจง่ายกว่า
          2. เด็กวัยอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก การนับสิ่งของที่มี 2 แถว แถวหนึ่งวางห่างกัน แถวสองวางชิดกัน เขาจะบอกว่าแถวที่วางห่างกันมีจำนวนมากกว่า เพราะยาวกว่า คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยอธิบายให้ลูกฟังอย่างใจเย็นที่สุด
          3. ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม  ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับเด็กวัยอนุบาลยังต้องได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น อันจะส่งผลให้เขาสามารถตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ เช่น มีของอยู่ 3 ชิ้น คุณแม่ให้เพิ่มอีก 2 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีเขาจะต้องเข้าใจคำว่า “เพิ่ม” คืออะไร และจะนำมาซึ่งกระบวนการคิดและตอบคำถามอย่างถูกต้อง
กระบวนการคิดและคณิตวัยอนุบาล
การเรียนคณิตศาสตร์ของวัยอนุบาลคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจในพัฒนาการของช่วงวัยไม่ควรคาดหวังสูงเพราะคณิตศาสตร์คือทักษะที่ต้องทำซ้ำ ทำบ่อย หมั่นทบทวนอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นไปได้อยากที่ครั้งแรกจะถูกเสมอไป ไม่โมโห ดุด่าเพราะสาเหตุที่ทำไม่ได้ดังใจฉะนั้นการจะให้ลูกตอบได้ในครั้งเดียวนั้นถือเป็นการคาดหวังที่สูงมาก การพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็ก จึงเป็นแนวทางในการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดีและแนวทางที่สำคัญอีกทางคือ ครอบครัว 
สรุป วิจัยจากนางสาวจิรญา พัวโสภิต

การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
จากการจัดประสบการณ์อาหารพื้นบ้านอีสาน
เป็นงานวิจัยของ คุณกุหลาบ ภูมาก บัณฑิตมหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ
          การจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยการลงมือทำ เด็กจะเกิดความสนุกสนานเพราะการประกอบอาหารเป็นสิ่งที่เด็กชอบ และอยากทดลอง นอกจากนี้ยังทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ ในเรื่องของด้านการเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ และด้านการรู้ค่าจำนวนอีกด้วย
การทำการทดลอง 
          อนุบาลชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนโสกเต็นวิทยาคม ต.หนองแดง จ.ขอนแก่น
ระยะเวลาในการทดลอง
          ทดลอง 8 สัปดาห์ๆ 3 วันๆ ละ 1 ครั้ง ใช้เวลาในการจัดประสบการณ์ 50 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
ระยะที่ 1 
          ขั้นเตียมก่อนการประกอบอาหาร ครูนำเข้าสู่กิจกรรม โดยใช้สื่อของจริง และรูปภาพ ให้เกิดการเปรียบเทียบ
ระยะที่ 2 
          ขั้นจัดประสบการอาหาร ให้เด็กเข้ากลุ่ม กลุ่มละ5คน ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยการจัดหมวดหมูอาหาร การทำการหาร การปรุง การหั่นผัก ร่วมถึงการรู้ค่าของจำนวนด้วย
ระยะที่ 3 
          ขั้นสรุปเป็นการพูดคุยสนทนาโดยใช้คำถามปลายเปิด เกี่ยวกับลักษณะของวัตถุดิบ ที่ใช้ประกอบอาหารได้ และอาจจะมีกิจกรรมให้วาดรูประบายสีและออกมาถ่ายทอดประสบการณ์หน้าขั้นเรียน
สิ่งที่เด็กได้รับ
          1. เรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการ อาหารต่างๆ
          2. รู้จักการคำนวณ เช่น การวัด การกะ และปริมาณ
          3. พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้แข็งแรง
          4. ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การสังเกตุ การชิมรส การดมกลิ่น การฟังเสียงที่เกิดขึ้น และการสัมผัส
          5. รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม 
สรุป VDO จากนางสาวบงกช เพ่งหาทรัพย์

  • โทรทัศน์ครู

 สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา)
ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ อ.ธิดารัตน์จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้ "นิทาน"เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กๆจะทำให้เข้ารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัวเด็กจะได้ทราบถึงการเปรียบเทียบขนาด น้ำหนัก และขนาด
เนื้อหาวิชาวันนี้ได้แก่ 
          สาระที่ 1 มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง (จำนวน เชื่อมโยงเลขกับรูปสัญลักษณ์)
          สาระที่ 2 การวัด มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน (ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร) และเวลา (ช่วงเวลาในแต่ละวัน, ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่บอกเกี่ยวกับวัน)

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการนำเสนอหน้าชั้น เช่น การพูดทักทายที่ถูกต้อง (เรียนอาจารย์ที่เคารพ และสวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคน ดิฉัน... จะมานำเสนอ...) ความมั่นใจ การพูดอย่างชัดถ้อยชัดคำ เป็นต้น
  • ทักษะการคิดจากประเด็นปัญหา
  • ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • จากการทำกิจกรรมทำให้ได้แนวทางในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น เช่น การทำบอร์ดตารางการมาเรียน เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วม อีกทั้งยังปลูกฝังความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลาให้กับเด็กด้วย
  • เพลงที่อาจารย์พาร้อง สามารถนำไปสอนเด็กในอนาคตได้ เพราะเด็กชอบการร้องเพลง การแสดงออก เป็นการนำมาบูรณาการให้เด็กได้เกิดความสนุกสนาน และเกิดการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน
  • จากสาระการเรียนรู้ สามารถนำมาประยุกต์ในการเรียนการสอนได้ โดยให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ รวมทั้งพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
  • นำความรู้ หรือสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนการทำของเล่นที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์จากอาจารย์ จากเพื่อน ๆ ไปประยุกต์ในการสอน เพราะเด็กปฐมวัยจะเกิดการเรียนรู้ได้มากจากการเล่น
เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์สอนให้นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์จากประเด็นปัญหาที่อาจารย์ให้มา ถ้าสิ่งที่นักศึกษาเข้าใจยังไม่ถูกต้อง อาจารย์ก็จะแนะนำแนวทางที่ถูกต้องให้ พร้อมทั้งยังให้อิสระในการคิดของนักศึกษา ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันและกัน
  • นอกจากจะสอนเนื้อหาวิชาการแล้ว อาจารย์ยังสอดแทรกคุณธรรมในการเป็นนักศึกษา เป็นครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิษย์ได้ เช่น การตรงต่อเวลา การมีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นต้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรม พยายามแลกเปลี่ยน ทำความเข้าใจ ในสิ่งที่อาจารย์นำเสนอให้ และเรียนรู้จากเพื่อน ๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจทำกิจกรรม และมีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนองาน กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น เป็นบรรยากาศที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก ทุกอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน และประทับใจที่อาจารย์เป็นกันเอง พูดตลกบ้าง เพื่อให้การเรียนไม่กดดันมากเกินไป รวมถึงชอบเวลาที่อาจารย์เล่าประสบการณ์ และสอดแทรกคุณธรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน




วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


วันพุธที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 08.30-12.30 น.
บรรยากาศในการเรียน
          วันนี้อาจารย์แจกกระดาษแล้วให้หยิบคนละ 1 แผ่นเช่นเคย จากนั้นก็ให้พับกระดาษเป็น 4 ส่วน แบบใดก็ได้ ซึ่งสามารถพับได้หลายแบบตามจินตนาการของแต่ละคน เช่น พับแบบแนวนอน แนวตั้ง เป็นต้น ซึ่งทำให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ของเพื่อนแต่ละคน อาจารย์จะให้โจทย์นักศึกษามา แล้วให้นักศึกษาปฏิบัติเอง จากนั้นจึงถามเหตุผล ถามหลักการ แต่ละคนก็จะมีแนวคิดที่แตกต่างกันไป ทำให้การเรียนเป็นระบบ เป็นลำดับขั้น จากการคิดและลงมือกระทำ พร้อมทั้งมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะที่อาจารย์และนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
          จากนั้น ก็เป็นการนำเสนอสรุปบทความ วิดีโอ และวิจัยของ 3 คนแรก ซึ่งฉันได้หัวข้อวิดีโอ ก็นำมาเล่าให้อาจารย์และเพื่อน ๆ ฟังว่าจากที่ได้ดู หาข้อมูลมาแล้ว ก็นำมาสรุปให้เข้าใจง่ายมากขึ้น แล้วมาแลกเปลี่ยนกัน เมื่อนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็จะสรุปเพิ่มเติม
          สรุปบทความ จากนางสาวไพจิตร ฉันทเกษมคุณ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่ สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้วัดและประเมินผล การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป
สรุปวิจัย จากนางสาวภาวิดา บุญช่วย
           งานวิจัย ครั้งนี้เป็นการทดลองทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการสานของ นางสาววันดี มั่นจงดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขา การศึกษาปฐมวัย ปี 2554
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อนุบาล 1 โรงเรียน วัดนิมมานรดี กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน เครื่องมือ 1. แผนการจัดกิจกรรมการสาน 2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ การทดลอง การวิจัย ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 50นาที รวม 32 ครั้ง ในช่วงกิจกรรมการสานจัดอยู่ในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เวลา 9.30 - 10.20 โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ทำการประเมินทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนทำการทดลองจากนั้นทำมาตรวจคะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนเป็นหลักฐาน 2. ดำเนินการทดลองในกิจกรรมการสาน 8 สัปดาห์ 4 วัน จำนาน 32 ครั้ง วันละ 30-50 นาที 3. เมื่อสิ้นสุดการทดลองผุ้วิจัยประเมินทักษะพื้นฐานชองเ็กหลังการทดลอง การสังเกตที่ได้รับจากการวิจัย - สัปดาห์แรกเด็กต้องการการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมจากการทำกิจกรรมสาน แต่เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ จึงต้องใช้เวลา ในการอธิบายวิธีการทำ พอถึงสัปดาห์ที่ 2 เด็กเริ่มรู้และเข้าใจวิธีการสานมากยิ่งขึ้นและมีความสนใจในกิจกรรม - ขณะที่ทำกิจกรรมเด็กมีความสนใจและกระตือรือร้นมากเด็กสามารถสานได้เด็กจะเกิดความภูมิใจกับผลงานและขอทำอีก - เด็กเรียนรู้สื่อใหม่และอุปกรณ์ที่หลากหลายหรืออุปกรณ์ที่เด็กไม่เคยสัมผัสมาก่อน - กิจกรรมการสานทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสพื้นฐานตร์ได้ด้วยตนเอง และมีพัฒนาการด้านอื่นอีกด้วย เช้น ได้ใช้กล้ามเนื้อมือ และตาสัมพันธ์กัน สรุป 1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกอจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม 2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรานด้านทุกด้าน พอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ในระดับดี

ส่วนรูปนี้ เป็นรูปที่ดิฉันกำลังนำเสนอสรุปจาก VDO เรื่องกิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว
(ขอบคุณรูปภาพจากเพื่อนด้วยค่ะ)

          เมื่อนำเสนอครบ 3 คนแล้ว อาจารย์ก็อธิบายเนื้อจาก Power Point ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรจากคณิตศาสตร์

ความรู้ที่ได้รับ

  • จากการพับกระดาษทำให้รู้รูปแบบการพับที่หลากหลาย 
  • ทำให้ได้ความรู้ว่า การจะกำหนดอะไรให้เด็กทำ จะต้องมีจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน เพื่อให้เด็กสามารถวิเคราะห์และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
  • จากการเขียนชื่อลงในกระดาษเศษ 1 ใน 4 ส่วนนั้น ทำให้รู้จักการประมาณในการเขียนตัวหนังสือให้พอดีกับพื้นที่ของกระดาษ
  • เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรจากคณิตศาสตร์ สรุปความรู้ได้ดังนี้ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ได้แก่ 
  1. จำนวนและดำเนินการ
  2. การวัด
  3. เรขาคณิต
  4. พีชคณิต (พี-ชะ) 
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  • คุณภาพเมื่อเด็กจบปฐมวัย = มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะสามารถปฏิบัติได้ในแต่ละสาระการเรียนรู้
  1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย, จำนวนนับ 1-20, เปรียบเทียบ เรียงลำดับ, เข้าใจหลักการนับ, รู้ค่าของจำนวน, การรวมและการแยกกลุ่ม
  2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เช่น เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร, รู้จักเงินเหรียญ และธนบัตร, เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
  3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง, รูปทรงเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ
  4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  5. การมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
  6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการคิดจากประเด็นปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
  • ทักษะการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • เมื่อมีความเข้าใจการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมากขึ้น ก็สามารถที่จะจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของเด็กได้ตรงตามสาระการเรียนรู้
  • จากการนำเสนอ ทำให้รู้วิธีการนำเสนอที่ถูกต้อง และเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการนำเสนอครั้งต่อไปให้ดีขึ้นได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์

  • อาจารย์จะให้ประเด็นปัญหา หรือกำหนดโจทย์ให้นักศึกษาทำ แล้วหลังจากนั้น ก็จะพูดคุยแลกเปลี่ยนหลักการและเหตุผลกัน ถ้ายังไม่ถูกต้องอาจารย์ก็จะช่วยแนะนำให้ดียิ่งขึ้น
  • อาจารย์จะสอดแทรกคุณธรรมในระหว่างการสอน เช่น เกี่ยวกับความเป็นครู ต้องมีทั้งคุณภาพและคุณธรรม ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนได้

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอนมากขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน และช่วยเหลือกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก ทำให้การเรียนเป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน ไม่สับสน และมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะในระหว่างการสอน เพื่อไม่ให้ตรึงเครียดมากเกินไป



วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกสรุปงานวิจัยจาก ThaiLIS

"การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน"
วิชา : คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน--วิจัย
ผู้สร้าง : พัชรินทร์ วาวงศ์มูล
ผู้มีส่วนช่วย : สุขิริน เย็นสวัสดิ์ (อาจารย์ที่ปรึกษาการศึกษาค้นคว้าอิสระ)
สำนักพิมพ์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำนักวิทยบริการ

          การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้หรือการทำงานของสมองทางธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพสมองของเด็กตามช่วงวัย การเรียนรู้ตัวเลขตั้งแต่วัยเยาว์หรือปฐมวัยจะส่งเสริมให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เป็นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป ซึ่งการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน น่าจะเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องและเหมาะสม ทำให้เด็กสามารถค้นคว้าความรู้ หาคำตอบ และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพราะเด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสโดยตรง

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านหัวนาคำ ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาบ้านวัวแดง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 23 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง
โดยใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีขั้นตอน
ในการดำเนินการ ดังนี้
1. ทดสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์เพื่อวัด
ความรู้พื้นฐานของนักเรียน โดยทดสอบก่อนทำการสอนในคาบเรียนแรก ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าเป็น
ผู้อ่านคำชี้แจง และข้อคำถามจากแบบทดสอบให้กับนักเรียนจำนวน 20 ข้อ เมื่อทดสอบเรียบร้อย
แล้วทำการตรวจแล้วบันทึกผลคะแนนไว้
2. ดำเนินการสอน โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์พัฒนาความพร้อมทาง
คณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น
ไปทำการสอนในระดับอนุบาลปีที่ 2 จากแผนการจัดประสบการณ์ที่ 1 ถึงแผนการจัดประสบการณ์
ที่ 10 โดยทำการสอนทุกวัน วันละ 1 แผน (40 นาที) เวลา 9.30 . - 10.10 . ขณะจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนนำแบบสังเกตพฤติกรรมประเมินนักเรียนเป็นระยะ ใช้เวลาจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนทั้งหมด 10 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ในระหว่างวันที่ 18 ถึง 29 มกราคม
2553 เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ไม่รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
3. ทดสอบหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ชั้น
อนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ตามแบบทดสอบชุดเดิมที่ใช้ทดสอบก่อน
เรียน เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์ การเตรียมความพร้อมพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าเป็นผู้อ่านคำชี้แจงและข้อคำถามให้กับนักเรียน

สรุปผล
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์ การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์
สำหรับเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.50/85.87
2. ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของแผนการจัดประสบการณ์ การพัฒนาความพร้อมทาง
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน มีค่าเท่ากับ 0.66 ซึ่ง
แสดงว่าเด็กมีความก้าวหน้าทางการเรียน ร้อยละ 66
3. ผลการจัดประสบการณ์การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ตาม
แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน พบได้ว่าได้ผลดี เป็นที่น่าพอใจ เด็กมีความพร้อมทาง
คณิตศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านรูปทรง และด้านการ
บอกตำแหน่ง มีกิจกรรมที่หลากหลายในการจัดประสบการณ์ เป็นการเตรียมสมองเพื่อรับข้อมูลใหม่
การร่วมกิจกรรมของเด็ก เด็กเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสนุก ตั้งใจฟังปฏิบัติตามข้อตกลงและสัญญาณ
ต่าง ๆ ได้ เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง กล้าแสดงออกมากขึ้น มีความรับผิดชอบต่อ
ตนเองและในกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อน และสิ่งที่แสดงถึงความสนใจเรียนของเด็กอีกอย่างก็คือ เด็กทำ
แบบทดสอบได้คะแนนเพิ่มขึ้นทุกคน




บันทึกสรุปวีดิทัศน์เรื่องกิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว

วีดิทัศน์ สาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
เทคนิคการสอนปฐมวัย
เรื่อง กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว
ผลิตโดย สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

บรรยายโดย : คุณครูอัมพรรณี สาลีวรรณ์
โรงเรียนอนุบาลกุยบุรี (วัดวังยาว) จ.ประจวบคีรีขันธ์

          กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวจะบูรณาการกับกิจกรรมประจำวัน หรือ 6 กิจกรรมหลักตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีกิจกรรมดังนี้

  • กิจกรรม : ปูมีขา (เคลื่อนไหวและจังหวะ)
  • กิจกรรม : ต้นไม้ใกล้ตัว (เสริมประสบการณ์)
  • กิจกรรม : ใบไม้แสนสวย (สร้างสรรค์)
  • กิจกรรม : มุมคณิต (เสรี)
  • กิจกรรม : เกมกระต่ายเก็บของ (กลางแจ้ง)
  • กิจกรรม : เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา)
          กิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรมสามารถนำมาบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้ง่าย และเด็กจะชื่นชอบ เพราะเป็นสิ่งรอบตัวเด็ก 

  • กิจกรรม : ปูมีขา (เคลื่อนไหวและจังหวะ) เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้ว่าปูมีขา 8 ขา และก้ามปูอีก 2 ก้าม ซึ่งให้เด็กเปรียบเทียบ เรียนรู้จากการนับนิ้วมือ  
  • กิจกรรม : ต้นไม้ใกล้ตัว (เสริมประสบการณ์) พาเด็กไปเรียนที่ใต้ต้นไม้ นอกห้องเรียน ซึ่งจะนำใบไม้ร่วงมาเปรียบเทียบ มานับจำนวน มากกว่าน้อยกว่า โดยที่ครูจะเป็นคนกำหนดโจทย์ให้ และชี้แนะแนวทางให้เด็กเล็กน้อย เน้นให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิด
  • กิจกรรม : ใบไม้แสนสวย (สร้างสรรค์) เช่น การจัดกิจกรรมจากการร้อยใบไม้ เริ่มจากใบไม้กลม หยัก เหลี่ยม รี หรือกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากใบไม้ให้เท่าจำนวนตัวเลขที่ครูกำหนดมาให้ หรือกิจกรรมการฉีกปะใบไม้ ลงในตัวเลขที่ครูพิมพ์ไว้ให้ โดยให้เด็กเลือกเองตามใจชอบ เด็กจึงเกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำ หรือการจัดลำดับใบไม้ 5 อันดับ โดยที่เด็กเป็นคนเลือกเอง และวาดรูปตามจินตนาการของเด็ก
  • กิจกรรม : มุมคณิต (เสรี) การนำสิ่งต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น พืชผัก ไข่ เมล็ดพืช ก้อนหิน เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กรู้จักและคุ้นเคย โดยมีบัตรภาพที่กำหนดตัวเลขไว้ ให้เด็กเลือกสิ่งใดก็ได้ มาวางให้ตรงกับจำนวนในบัตรเลขนั้น
  • กิจกรรม : เกมกระต่ายเก็บของ (กลางแจ้ง) เป็นการเก็บของโดยการจัดอันดับ 5 สิ่ง คือ ก้อนหิน ไม้บล็อก ส้ม หมวก ตะกร้า โดยวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
  • กิจกรรม : เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา) เป็นการนำก้อนหิน 2 สี คือ สีขาวกับสีแดง มาเรียงตามจำนวนในบัตรภาพหรือบัตรตัวเลข
          ประโยชน์จากการทำกิจกรรมดังกล่าวทำให้เด็กเรียนรู้การใช้เงิน รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ป้ายทะเบียนรถ ตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้
          เทคนิคการสอน : ต้องดูที่ความต้องการของเด็ก เช่น เด็กชอบร้องเพลง เล่นเกม คำคล้องจอง สื่อต่าง ๆ การเรียนนอกห้อง เป็นต้น ก็จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องความต้องการของเด็ก และนำคณิตศาสตร์มาบูรณาการในการเรียน ซึ่งจะทำให้เด็กมีความสุข สนุกสนาน เกิดการเรียนรู้ที่ดี และได้ศึกษาธรรมชาติรอบตัวด้วย ที่สำคัญคือ ต้องเน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน อย่างสม่ำเสมอ ถ้าครูนำเสนอสิ่งที่เด็กพอใจ เด็กก็จะมีความสุข ถ้าเด็กมีความสุขก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้ง่ายขึ้น และเด็กก็จะไม่คิดว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ยาก น่าเบื่อ ไม่เข้าใจอีกต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ขั้นต่อ ๆ ไป



วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกสรุปบทความทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Early Childhood Education Chiangrai Rajabaht University By Kannika Saechai
บทความนี้ เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2554

          การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดรวบยอดให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ครูหรือผู้เกี่ยวข้องควรทราบว่ามีทักษะจำเป็นอะไรบ้างที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กต่อไป ทักษะที่เด็กควรได้รับอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณ

          ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่

  1. ทักษะการสังเกต (Opservation) เป็นการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดประสงค์
  2. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม แล้วแต่เด็กจะเลือกใช้
  3. ทักษะการเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ เช่น สามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอีกลูกหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนในเรื่องการวัดและการจัดลำดับ
  4. ทักษะการจัดลำดับ (Ordering) การจัดลำดับในขั้นแรก ๆ จะเป็นไปในลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง เมื่อเกิดการพัฒนาจนเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว จึงจะสามารถจัดลำดับที่มีความยากขึ้นได้
  5. ทักษะการวัด (Measurement) ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์ (ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิม ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม
  6. ทักษะการนับ (Counting) เด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายก็ต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การนับจำนวนเพื่อนในห้องเรียน นับขนมที่อยู่ในมือ เป็นต้น
  7. ทักษะเกี่ยวกับรูปทรงและขนาด (Sharp and Size) ครูสามารถทดสอบว่าเด็กรู้จักรูปทรงหรือไม่ โดยให้เด็กหยิบ/เลือกสิ่งของตามคำบอก เมื่อเด็กรู้จักรูปทรงพื้นฐานแล้ว ครูสามารถสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงที่ยากขึ้นได้
          ทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณ สำหรับเด็กปฐมวัยอาจแบ่งได้ 3 ทักษะ ได้แก่
  1. ทักษะในการจัดหมู่
  2. ทักษะในการรวมหมู่ (การเพิ่ม)
  3. ทักษะในการแยกหมู่ (การลด)

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันพุธที่ 13 มกราคม 2559 เวลา 08.30-12.30 น.

บรรยากาศในการเรียน
          อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนด้วยการเช็คชื่อ และถามเหตุผลเพื่อน ๆ ที่ไม่ได้มาเรียนเมื่อชั่วโมงที่แล้ว จากนั้นก็นำกระดาษ A4 ปึกใหญ่ ๆ มาให้นักศึกษา โดยให้หยิบ 1 คนต่อ 1 แผ่น แล้วส่งไปให้เพื่อนคนต่อไปเรื่อย ๆ จนครบ เมื่อครบแล้ว จึงนำกระดาษที่เหลือมาคืนอาจารย์ จากนั้นอาจารย์จึงสรุปให้ฟังว่าเป็นอย่างไร ซึ่งการเรียนในวันนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา สิ่งใดที่นักศึกษาเข้าใจถูกแล้ว อาจารย์ก็สนับสนุน ส่วนใดยังไม่ถูกต้อง อาจารย์ก็ให้ความรู้ แนะนำในสิ่งที่ถูก พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันด้วย ทำให้เรียนอย่างมีความสุข มีเสียงหัวเราะ และไม่เคร่งเครียดจนเกินไป

ความรู้ที่ได้รับ

  • การแจกกระดาษแบบหยิบไว้ 1 แผ่น แล้วส่งต่อไปให้เพื่อนเรื่อย ๆ จนครบ เรียกว่า "การจับคู่แบบ 1 ต่อ 1" ซึ่งได้ข้อสรุปว่า การทำแบบนี้บูรณาการทางด้านคณิตศาสตร์ได้หลายอย่าง เช่น การจำแนก การคิดเป็นเหตุเป็นผล การคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เราได้นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่ได้คิดย้อนกลับไปว่าเราได้อะไรจากสิ่งที่ทำบ้าง
  • ทำให้รู้ว่า คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือ เปรียบเหมือนกับภาษาที่ใช้สำหรับการเรียนรู้ และสามารถประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
  • อะไรที่เป็น "ผลกระทบ" แสดงว่าสิ่งนั้น "สำคัญ" เปรียบเหมือนคณิตศาสตร์ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนเรา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ 
  • การแลกเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า "คณิตศาสตร์" ทำให้รู้ความหมายดังนี้ คณิตศาสตร์ คือ การคิดคำนวณในชีวิตประจำวัน ที่มีองค์ประกอบดังนี้ ตัวเลข โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หาร การแก้สมการ การคิดเป็นเหตุเป็นผล เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมแจกกระดาษในวันนี้ ทำให้ได้เรียนรู้การจับคู่แบบ 1 ต่อ 1 และการจัดหมวดหมู่ว่า ต้องเลือกกระดาษที่เสียแล้ว 1 หน้า ซึ่งยังสามารถใช้ได้อีก 1 หน้า ไม่เลือกกระดาษที่เสียทั้ง 2 หน้า เป็นต้น 
  • จากการทำ My mapping หัวข้อ "การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" ทำให้รู้ขอบข่ายในหัวข้อดังกล่าว ดังนี้
  1. การจัดประสบการณ์ ได้แก่ หลักสูตร หลักการ แนวทาง การนำไปใช้ การจัดประสบการณ์โดยผู้ปกครอง และสื่อ
  2. คณิตศาสตร์ ได้แก่ ความหมาย ความสำคัญ สาระ ทักษะ และประโยชน์
  3. เด็กปฐมวัย ได้แก่ ความหมาย การเรียนรู้ และพัฒนาการ
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร การจำแนกจัดหมวดหมู่ การคิดเป็นเหตุเป็นผล การคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหา
  • ทักษะทางภาษาไทย คือ การนำความรู้ที่แลกเปลี่ยนกันกับเพื่อน ๆ มารวมกันเพื่อเป็นประโยคที่สมบูรณ์ หรือทำให้เป็นความเรียงที่เกิดจากการกลั่นกรองแล้ว
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • ทำให้สามารถนำแนวทางการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน มาใช้ในการสอนหรือการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยได้
  • นำแนวความคิดทางคณิตศาสตร์ที่เป็นความรู้ใหม่ มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • นำทักษะการเรียงลำดับคำเพื่อให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ มาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อทำให้การสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ มีความเข้าใจตรงกัน
เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์จะสอนโดยทางอ้อม คือ ให้ลงมือทำกิจกรรมตามที่ครูกำหนด นักศึกษาก็จะเกิดการเรียนรู้ขณะที่ทำ มีทักษะการคิดที่รวดเร็วมากขึ้น หลังจากนั้นอาจารย์จึงสรุป หรือย้อนทวนให้เราได้คิดตาม ว่าได้อะไรจากการทำกิจกรรม
  • นอกจากได้ความรู้แล้ว อาจารย์ยังสอดแทรกคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน ให้ความร่วมมือ ตอบคำถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์และเพื่อน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีความรู้เดิมมาแลกเปลี่ยนกัน และทำให้สรุปได้เป็นความรู้ใหม่สำหรับพวกเราเอง มีเสียงหัวเราะ และสนุกสนานในการเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้การเรียนเป็นไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ฝึกให้นักศึกษาได้เกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ และอบรมสั่งสอนในสิ่งที่ดีงาม




วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันพุธที่ 6 มกราคม 2559 เวลา 08.30-12.30 น.

บรรยากาศในการเรียน

การเรียนในวันนี้ เป็นชั่วโมงแรกที่ได้พบกับอาจารย์ผู้สอน ซึ่งยังไม่เคยเรียนกับอาจารย์มาก่อน อาจารย์ใจดี ยิ้มแย้มแจ่มใส จึงทำให้บรรยากาศในการเรียนวันนี้เป็นไปอย่างสบาย ๆ ไม่เครียด ได้แลกเปลี่ยน ทำความรู้จักกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
  • อาจารย์เริ่มจากการให้นักศึกษาแบ่งกระดาษ A4 จำนวน 1 แผ่น ต่อ 3 คน (เริ่มสงสัยว่าอาจารย์จะให้ทำอะไร ?) พอแบ่งได้เท่ากันและครบทุกคนแล้ว จึงส่งกระดาษที่เหลือคืนให้อาจารย์
  • จากนั้น อาจารย์ก็ให้เขียนสิ่งที่เป็นจุดเด่นของตัวเอง ที่สามารถสังเกตได้จากภายนอก และระบุว่าเป็นคนจังหวัดใด เมื่อทุกคนเขียนเสร็จ ก็ส่งกระดาษนั้นให้อาจารย์
  • อาจารย์เริ่มอ่านทีละใบ ๆ และทายว่าเป็นใคร จากลักษณะที่เขียนไว้ในกระดาษ (สนุกและลุ้นกันมาก)
  • เมื่อทำความรู้จักครบทุกคนแล้ว อาจารย์จึงสรุปแนวคิดจากการทำกิจกรรมดังกล่าวเพื่อเป็นความรู้ให้นักศึกษา
ความรู้ที่ได้รับ
  • ได้ความรู้เกี่ยวกับการสอนหรือการนำเสนอที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การนำทักษะการคิดจากประเด็นปัญหา เข้ามาช่วยในการสอน เป็นต้น
  • ได้ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของการทำบล็อก เพื่อใช้เป็นแฟ้มสะสมผลงาน และยังสามารถเผยแพร่เป็นความรู้ให้ผู้ที่สนใจได้ด้วย
  • ได้ความรู้ด้านการนำเสนอ การพูด ทักทาย การมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการคิดจากประเด็นปัญหา ซึ่งเป็นแนวทางที่จะประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแบ่งกระดาษให้เท่ากัน จะทำวิธีใด จึงจะทำให้เสร็จเร็วที่สุด เป็นต้น
  • ทักษะการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียน
  • ทักษะการเลือกและออกแบบบล็อก
  • ทักษะการเขียนเพื่อสรุป
  • ทักษะการนำเสนอข้อมูลด้วยความถูกต้องและน่าสนใจ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • นำทักษะการคิดจากประเด็นปัญหาเข้ามาช่วยในการสอน เช่น การแจกอุปกรณ์เพื่อให้เด็กทำกิจกรรม อาจจะไม่แจกแบบธรรมดา ควรตั้งประเด็นปัญหา ให้เด็กได้คิดและทำตาม เพื่อเป็นการนำวิชาคณิตศาสตร์เข้าไปบูรณาการในการเรียนการสอนด้วย เป็นต้น
  • นำคำแนะนำจากอาจารย์เกี่ยวกับการทำบล็อกมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้มีความถูกต้อง และมีการพัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป
  • นำคำแนะนำการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนไปใช้ในอนาคตได้ เมื่อต้องออกไปพูดหน้าเวที หรือแล้วแต่สถานการณ์ เพื่อเป็นการวางตัวได้เหมาะสม
เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • อาจารย์สอนให้นักศึกษาได้คิดจากประเด็นปัญหาที่ตั้งขึ้น และให้นักศึกษาได้ปรึกษา ลงมือทำอย่างอิสระ จึงมาสรุปทีหลังว่า ได้อะไรบ้างจากการทำกิจกรรม เพื่อให้เป็นแนวทางแก่นักศึกษาที่จะนำไปใช้ในอนาคตต่อไป
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย 
ประเมินเพื่อน : ให้ความช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใจดี และยิ้มแย้มแจ่มใส แนะนำแนวทางสิ่งที่ดี ๆ ให้กับนักศึกษา