วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกสรุปบทความทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Early Childhood Education Chiangrai Rajabaht University By Kannika Saechai
บทความนี้ เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2554

          การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดรวบยอดให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ครูหรือผู้เกี่ยวข้องควรทราบว่ามีทักษะจำเป็นอะไรบ้างที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กต่อไป ทักษะที่เด็กควรได้รับอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณ

          ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่

  1. ทักษะการสังเกต (Opservation) เป็นการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดประสงค์
  2. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม แล้วแต่เด็กจะเลือกใช้
  3. ทักษะการเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ เช่น สามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอีกลูกหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนในเรื่องการวัดและการจัดลำดับ
  4. ทักษะการจัดลำดับ (Ordering) การจัดลำดับในขั้นแรก ๆ จะเป็นไปในลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง เมื่อเกิดการพัฒนาจนเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว จึงจะสามารถจัดลำดับที่มีความยากขึ้นได้
  5. ทักษะการวัด (Measurement) ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์ (ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิม ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม
  6. ทักษะการนับ (Counting) เด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายก็ต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การนับจำนวนเพื่อนในห้องเรียน นับขนมที่อยู่ในมือ เป็นต้น
  7. ทักษะเกี่ยวกับรูปทรงและขนาด (Sharp and Size) ครูสามารถทดสอบว่าเด็กรู้จักรูปทรงหรือไม่ โดยให้เด็กหยิบ/เลือกสิ่งของตามคำบอก เมื่อเด็กรู้จักรูปทรงพื้นฐานแล้ว ครูสามารถสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงที่ยากขึ้นได้
          ทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณ สำหรับเด็กปฐมวัยอาจแบ่งได้ 3 ทักษะ ได้แก่
  1. ทักษะในการจัดหมู่
  2. ทักษะในการรวมหมู่ (การเพิ่ม)
  3. ทักษะในการแยกหมู่ (การลด)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น