บรรยากาศในการเรียน
วันนี้อาจารย์แจกกระดาษแล้วให้หยิบคนละ 1 แผ่นเช่นเคย จากนั้นก็ให้พับกระดาษเป็น 4 ส่วน แบบใดก็ได้ ซึ่งสามารถพับได้หลายแบบตามจินตนาการของแต่ละคน เช่น พับแบบแนวนอน แนวตั้ง เป็นต้น ซึ่งทำให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ของเพื่อนแต่ละคน อาจารย์จะให้โจทย์นักศึกษามา แล้วให้นักศึกษาปฏิบัติเอง จากนั้นจึงถามเหตุผล ถามหลักการ แต่ละคนก็จะมีแนวคิดที่แตกต่างกันไป ทำให้การเรียนเป็นระบบ เป็นลำดับขั้น จากการคิดและลงมือกระทำ พร้อมทั้งมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะที่อาจารย์และนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
จากนั้น ก็เป็นการนำเสนอสรุปบทความ วิดีโอ และวิจัยของ 3 คนแรก ซึ่งฉันได้หัวข้อวิดีโอ ก็นำมาเล่าให้อาจารย์และเพื่อน ๆ ฟังว่าจากที่ได้ดู หาข้อมูลมาแล้ว ก็นำมาสรุปให้เข้าใจง่ายมากขึ้น แล้วมาแลกเปลี่ยนกัน เมื่อนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็จะสรุปเพิ่มเติม
สรุปบทความ จากนางสาวไพจิตร ฉันทเกษมคุณ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่ สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้วัดและประเมินผล การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป
สรุปวิจัย จากนางสาวภาวิดา บุญช่วย
งานวิจัย ครั้งนี้เป็นการทดลองทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการสานของ นางสาววันดี มั่นจงดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขา การศึกษาปฐมวัย ปี 2554
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อนุบาล 1 โรงเรียน วัดนิมมานรดี กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน
เครื่องมือ
1. แผนการจัดกิจกรรมการสาน
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
การทดลอง การวิจัย ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 50นาที รวม 32 ครั้ง ในช่วงกิจกรรมการสานจัดอยู่ในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เวลา 9.30 - 10.20
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ทำการประเมินทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนทำการทดลองจากนั้นทำมาตรวจคะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนเป็นหลักฐาน
2. ดำเนินการทดลองในกิจกรรมการสาน 8 สัปดาห์ 4 วัน จำนาน 32 ครั้ง วันละ 30-50 นาที
3. เมื่อสิ้นสุดการทดลองผุ้วิจัยประเมินทักษะพื้นฐานชองเ็กหลังการทดลอง
การสังเกตที่ได้รับจากการวิจัย
- สัปดาห์แรกเด็กต้องการการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมจากการทำกิจกรรมสาน แต่เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ จึงต้องใช้เวลา ในการอธิบายวิธีการทำ พอถึงสัปดาห์ที่ 2 เด็กเริ่มรู้และเข้าใจวิธีการสานมากยิ่งขึ้นและมีความสนใจในกิจกรรม
- ขณะที่ทำกิจกรรมเด็กมีความสนใจและกระตือรือร้นมากเด็กสามารถสานได้เด็กจะเกิดความภูมิใจกับผลงานและขอทำอีก
- เด็กเรียนรู้สื่อใหม่และอุปกรณ์ที่หลากหลายหรืออุปกรณ์ที่เด็กไม่เคยสัมผัสมาก่อน
- กิจกรรมการสานทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสพื้นฐานตร์ได้ด้วยตนเอง และมีพัฒนาการด้านอื่นอีกด้วย เช้น ได้ใช้กล้ามเนื้อมือ และตาสัมพันธ์กัน
สรุป
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกอจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรานด้านทุกด้าน พอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ในระดับดี
ส่วนรูปนี้ เป็นรูปที่ดิฉันกำลังนำเสนอสรุปจาก VDO เรื่องกิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว
(ขอบคุณรูปภาพจากเพื่อนด้วยค่ะ)
เมื่อนำเสนอครบ 3 คนแล้ว อาจารย์ก็อธิบายเนื้อจาก Power Point ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรจากคณิตศาสตร์
- จากการพับกระดาษทำให้รู้รูปแบบการพับที่หลากหลาย
- ทำให้ได้ความรู้ว่า การจะกำหนดอะไรให้เด็กทำ จะต้องมีจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน เพื่อให้เด็กสามารถวิเคราะห์และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
- จากการเขียนชื่อลงในกระดาษเศษ 1 ใน 4 ส่วนนั้น ทำให้รู้จักการประมาณในการเขียนตัวหนังสือให้พอดีกับพื้นที่ของกระดาษ
- เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรจากคณิตศาสตร์ สรุปความรู้ได้ดังนี้ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ได้แก่
- จำนวนและดำเนินการ
- การวัด
- เรขาคณิต
- พีชคณิต (พี-ชะ)
- การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- คุณภาพเมื่อเด็กจบปฐมวัย = มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะสามารถปฏิบัติได้ในแต่ละสาระการเรียนรู้
- มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย, จำนวนนับ 1-20, เปรียบเทียบ เรียงลำดับ, เข้าใจหลักการนับ, รู้ค่าของจำนวน, การรวมและการแยกกลุ่ม
- มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เช่น เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร, รู้จักเงินเหรียญ และธนบัตร, เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
- มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง, รูปทรงเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ
- มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
- การมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
- มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิดจากประเด็นปัญหา
- ทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
- ทักษะการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- เมื่อมีความเข้าใจการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมากขึ้น ก็สามารถที่จะจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของเด็กได้ตรงตามสาระการเรียนรู้
- จากการนำเสนอ ทำให้รู้วิธีการนำเสนอที่ถูกต้อง และเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการนำเสนอครั้งต่อไปให้ดีขึ้นได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
- อาจารย์จะให้ประเด็นปัญหา หรือกำหนดโจทย์ให้นักศึกษาทำ แล้วหลังจากนั้น ก็จะพูดคุยแลกเปลี่ยนหลักการและเหตุผลกัน ถ้ายังไม่ถูกต้องอาจารย์ก็จะช่วยแนะนำให้ดียิ่งขึ้น
- อาจารย์จะสอดแทรกคุณธรรมในระหว่างการสอน เช่น เกี่ยวกับความเป็นครู ต้องมีทั้งคุณภาพและคุณธรรม ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอนมากขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน และช่วยเหลือกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก ทำให้การเรียนเป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน ไม่สับสน และมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะในระหว่างการสอน เพื่อไม่ให้ตรึงเครียดมากเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น